กำลังอัดของดินลูกรังที่ไม่ผ่านมาตรฐานปรับปรุงด้วยเถ้าขยะ จีโอโพลีเมอร์

  • เพทาย อุตราช ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
  • เสริมศักดิ์ ติยะแสงทอง
  • เชิดศักดิ์ สุขศิริพัฒนพงศ์
  • ชยกฤต เพชรช่วย
  • จักษดา ธำรงวุฒิ
  • วิศิษฏ์ศักดิ์ ทับยัง
คำสำคัญ: กำลังอัด, ดินลูกรังที่ไม่ผ่านมาตรฐาน, เถ้าขยะ, โซเดียมซิลิเกต, โซเดียวไฮดรอกไซด์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษากำลังอัดของดินลูกรังที่ไม่ผ่านมาตรฐานปรับปรุงด้วยเถ้าขยะ จีโอโพลีเมอร์ ดินลูกรังที่ไม่ผ่านมาตรฐานได้จากบ่อลูกรัง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา เถ้าขยะได้จากโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ (Waste to Energy Power Plant) จังหวัดสงขลา งานวิจัยนี้ใช้อัตราส่วนดินลูกรังที่ไม่ผ่านมาตรฐานต่อเถ้าขยะเท่ากับ 100:0 90:10 80:20 และ 70:30 อัตราส่วนของสารละลายโซเดียมซิลิเกต (Na2SiO3) ต่อสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) เท่ากับ 20:80 10:90 และ 0:100 ความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) เท่ากับ 8 โมลาร์ ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่ากำลังอัดแช่น้ำที่อายุบ่ม 7 วัน ของดินลูกรังที่ไม่ผ่านมาตรฐานปรับปรุงด้วยเถ้าขยะ จีโอโพลีเมอร์มีค่าเพิ่มมากขึ้นตามปริมาณเถ้าขยะ และอัตราส่วน Na2SiO3:NaOH ที่เพิ่มขึ้น กำลังอัดแช่น้ำสูงสุดที่อายุบ่ม 7 วัน ของดินลูกรังที่ไม่ผ่านมาตรฐานปรับปรุงด้วยเถ้าขยะ จีโอโพลีเมอร์พบที่ปริมาณเถ้าขยะร้อยละ 20 และอัตราส่วน Na2Sio3:NaOH เท่ากับ 10:90

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2020-07-09
How to Cite
[1]
อุตราชเ., ติยะแสงทองเ., สุขศิริพัฒนพงศ์เ., เพชรช่วยช., ธำรงวุฒิจ. และ ทับยังว. 2020. กำลังอัดของดินลูกรังที่ไม่ผ่านมาตรฐานปรับปรุงด้วยเถ้าขยะ จีโอโพลีเมอร์. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), GTE24.

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้

1 2 > >>