แบบจำลองเชิงพฤติกรรมการใช้คาร์แชริ่ง: กรณีศึกษาผู้ใช้งานรถจักรยานยนต์รับจ้างในเขตกรุงเทพมหานคร

  • วีรชัย โสธนนันทนฺ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พงษ์สันธ์ บัณฑิตสกุลชัย
คำสำคัญ: พฤติกรรมการเลือกรูปแบบการเดินทาง, ข้อมูลเชิงกล่าวอ้าง, แบบจำลองโลจิสติคทวินาม, มอเตอร์ไซค์แชร์ริ่ง

บทคัดย่อ

รถจักรยานยนต์รับจ้างเป็นรูปแบบการเดินทางที่ได้รับความนิยมและมีความสำคัญอย่างมากในกรุงเทพมหานคร เป็นรูปแบบการขนส่งผู้โดยสารที่มีความคล่องตัวสูง สามารถอำนวยความสะดวกแก่ผู้เดินทางในช่วงเวลาเร่งด่วน และใช้เชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้าขนส่งสาธารณะได้ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันพบว่าการให้บริการรถจักรยานยนต์รับจ้างในกรุงเทพมหานคร ยังประสบปัญหาหลายประการ เช่น ราคาค่าบริการที่ไม่แน่นอน ความไม่เพียงพอของจำนวนรถในบางช่วงเวลา พฤติกรรมการขับขี่ที่ไม่ปลอดภัย เป็นต้น ดังนั้น บริการมอเตอร์ไซค์แชริ่งจะเป็นทางเลือกในเดินทางที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตในด้านการเดินทางของประชาชนได้ งานวิจัยนี้มุ่งเน้นวิเคราะห์หาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางของผู้โดยสารที่ใช้รถจักรยานยนต์รับจ้างมาเป็นการใช้บริการมอเตอร์ไซค์แชริ่ง โดยเจาะจงกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้โดยสารที่ใช้บริการรถจักรยานยนต์รับจ้างเพื่อเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในพื้นที่ย่านศูนย์กลางทางธุรกิจของกรุงเทพมหานครจำนวน 372 ตัวอย่าง โดยใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงกล่าวอ้าง และใช้แบบจำลองโลจิสติคทวินามบนพื้นฐานของทฤษฎีอรรถประโยชน์ในการวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่าตัวแปรที่ส่งผลเชิงบวกต่อการเลือกใช้บริการมอเตอร์ไซค์แชริ่งอย่างมีนัยสำคัญ คือ เพศ อายุ รายได้ การมีใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์  ในขณะที่ จำนวนจักรยานยนต์และจำนวนรถยนต์ที่ครอบครอง ส่งผลเชิงลบต่อการเลือกใช้บริการมอเตอร์ไซค์แชริ่ง โดยที่แบบจำลองโลจิสติกแบบทวินามที่สร้างขึ้นสามารถพยากรณ์ได้ถูกต้องร้อยละ 73.43 และมีค่า Adjusted-R2 เท่ากับ 0.2504 ทั้งนี้ ปัจจัยด้านเวลาเดินทาง ค่าโดยสาร และมูลค่าเวลาของผู้เดินทางในพื้นที่ศึกษา สามารถนำมาใช้เพื่อกำหนดรูปแบบและอัตราค่าบริการที่เหมาะสมสำหรับการให้บริการมอเตอร์ไซค์แชริ่งต่อไป

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2020-07-08
How to Cite
[1]
โสธนนันทนฺว. และ บัณฑิตสกุลชัยพ. 2020. แบบจำลองเชิงพฤติกรรมการใช้คาร์แชริ่ง: กรณีศึกษาผู้ใช้งานรถจักรยานยนต์รับจ้างในเขตกรุงเทพมหานคร. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), TRL17.
สาขาของบทความ
วิศวกรรมขนส่ง จราจรอัจฉริยะ และโลจิสติกส์