การประมาณค่าข้อมูลน้ำฝนรายวันที่ขาดหายไปด้วยวิธีควอนไทล์

ผู้แต่ง

  • ศรีสุนี วุฒิวงศ์โยธิน ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • กุลสตรี ศรีจุมปา
  • คมกฤษณ์ โสภา

บทคัดย่อ

การประมาณค่าข้อมูลน้ำฝนรายวันที่ขาดหายไปมีความสำคัญเพื่อเติมชุดข้อมูลให้มีความสมบูรณ์ก่อนนำไปใช้วิเคราะห์ผลในการศึกษาด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับน้ำ วิธีที่นิยมใช้ในการเติมค่าข้อมูลน้ำฝนรายวันที่ขาดหายไปได้แก่ วิธีค่าเฉลี่ยคณิตศาสตร์ วิธีระยะทางผกผัน (Inverse Distance Weighting method, IDW) วิธีการเหล่านี้มักมีข้อจำกัดหลัก ได้แก่ มักให้ค่าปริมาณฝนรายวันที่ต่ำกว่าความเป็นจริง จำนวนวันฝนตกที่มากเกินไป ดังนั้นในงานวิจัยนี้ทำการศึกษาวิธีการเติมค่าสูญหายข้อมูลฝนด้วยวิธีการทางสถิติ คือ วิธีควอนไทล์ (Quantile method, QT) โดยการสร้างกราฟการแจกแจงความถี่แบบเบอร์นูลี่-แกมมา (Bernoulli-Gamma Distribution) จากข้อมูลฝนรายวันของสถานีเป้าหมายที่จะเติมค่าและสถานีอ้างอิงที่คัดเลือก โดยใช้สถานีตรวจวัดฝนในพื้นที่ลุ่มน้ำปิงตอนบน จำนวน 6 สถานี ทำการทดสอบการเติมค่าสูญหายที่เปอร์เซ็นต์สูญหาย 20% และ 40% ผลการศึกษา พบว่า วิธี QT ให้ค่าทางสถิติ ได้แก่ ค่าฝนรายวันมากที่สุด ฝนรายวันเฉลี่ย ความแปรปรวน และค่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 99 ดีกว่าวิธี IDW แต่ให้ค่า RMSE และ MAE มากกว่าวิธี IDW เล็กน้อยเนื่องมาจาก QT มีค่าความแปรปรวนมากกว่า

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

เอกสารอ้างอิง

J. Kim and J. H. Ryu, "A Heuristic Gap Filling Method for Daily Precipitation Series," Water Resources Management, journal article vol. 30, no. 7, pp. 2275-2294, May 01 2016, doi: 10.1007/s11269-016-1284-z.
[2] C. Simolo, M. Brunetti, M. Maugeri, and T. Nanni, "Improving estimation of missing values in daily precipitation series by a probability density function-preserving approach," International Journal of Climatology, vol. 30, no. 10, pp. 1564-1576, 2010, doi: 10.1002/joc.1992.
[3] M. M. Hasan and B. F. W. Crokea, "Filling gaps in daily rainfall data : a statistical approach," in 20th International Congress on Modelling and Simulation, Adelaide, Australia, 1–6 December 2013 2013.
[4] D. A. Mooley, "Gamma Distribution Probability Model for Asian Summer Monsoon Monthly Rainfall," Monthly Weather Review, vol. 101, no. 2, pp. 160-176, 1973, doi: 10.1175/1520-0493(1973)101<0160:Gdpmfa>2.3.Co;2.
[5] H. Aksoy, "Use of gamma distribution in hydrological analysis," Turkish Journal of Engineering and Environmental Sciences, vol. 24, no. 6, pp. 419-428, 2000.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-07