ผลของแรงโอบรัดด้านข้างต่อรูปแบบการวิบัติของเสาเหล็กกรอกคอนกรีตหน้าตัดสี่เหลี่ยมจัตุรัส

ผู้แต่ง

  • วัชรา โพธิ์สาวัง นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ มก.ฉกส.
  • เปรมปรีดา กงนะ
  • วัจน์วงค์ กรีพละ

คำสำคัญ:

แจ็คเก็ต, ระนาบวิบัติ, กำลังรับแรงอัด, การให้แรงโอบรัด, การวิบัติ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาสมรรถนะของเสาเหล็กกรอกคอนกรีตหน้าตัดสี่เหลี่ยมจัตุรัสโดยการให้แรงโอบรัดทางด้านข้าง ตัวอย่างเสาเหล็กกรอกคอนกรีตจะถูกนำมาทดสอบเพื่อศึกษากำลังและรูปแบบการวิบัติภายใต้การรับแรงอัดตามแนวแกน ตัวแปรหลักในการศึกษานี้คือ หน่วยแรงโอบรัดด้านข้าง ซึ่งมีค่าตั้งแต่ 0, 2.4, 4.8 and 7.2 MPa คิดเป็น 0%, 11.4%, 22.9% และ 34.3%ของกำลังอัดของแกนคอนกรีต ปลอกเหล็ก มอก. SM490 ขนาด 98x98x350 มิลลิเมตร ถูกนำมาใช้ทำเป็นปลอกเสาเพื่อโอบรัดแกนคอนกรีตซึ่งมีกำลังอัด 20.98 MPa. การให้แรงทางโอบรัดทางด้านข้างจะกระทำผ่านแจ็คเก็ต ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าการเพิ่มหน่วยแรงโอบรัดด้านข้าง 11.4%-34.3% ของกำลังอัดของแกนคอนกรีต ทำให้กำลังรับแรงอัดของเสาเหล็กกรอกคอนกรีตหน้าตัดสี่เหลี่ยมจัตุรัส เพิ่มขึ้น 3.01-19.21% สาเหตุหลักของการวิบัติเกิดจากการวิบัติแบบเฉือนในแกนคอนกรีตดันให้ปลอกเหล็กโก่งออกด้านนอก นอกจากนี้ ยังพบว่า หน่วยแรงโอบรัดด้านข้างส่งผลให้ระนาบการวิบัติของเสาเหล็กกรอกคอนกรีตเปลี่ยนไป โดยระนาบวิบัติทำมุมกับแนวราบต่ำสุดเมื่อให้หน่วยแรงโอบรัดด้านข้างเท่ากับ 11.4% ของกำลังอัดของแกนคอนกรีต

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-09

วิธีการอ้างอิง

[1]
โพธิ์สาวัง ว. และคณะ 2020. ผลของแรงโอบรัดด้านข้างต่อรูปแบบการวิบัติของเสาเหล็กกรอกคอนกรีตหน้าตัดสี่เหลี่ยมจัตุรัส. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), STR25.