ผลของแรงโอบรัดด้านข้างต่อความเหนียวของเสาเหล็กกรอกคอนกรีตหน้าตัดสี่เหลี่ยมจัตุรัส

  • ภัทรจีรา ไตรวงค์ย้อย ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
  • วัชรา โพธิ์สาวัง ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
  • วัจน์วงค์ กรีพละ ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
คำสำคัญ: เสาเหล็กกรอกคอนกรีต, กำลังรับแรงอัด, ความเหนียว, ลักษณะการวิบัติ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาสมรรถนะของเสาเหล็กกรอกคอนกรีตหน้าตัดสี่เหลี่ยมจัตุรัสโดยการให้แรงโอบรัดทางด้านข้าง เสาเหล็กกรอกคอนกรีตตัวอย่างจะถูกนำมาทดสอบเพื่อศึกษาสมรรถนะด้านความเหนียวซึ่งประกอบด้วย ตัวประกอบความเหนียว ตัวประกอบการดูดซับพลังงาน และดัชนีงาน ซึ่งคำนวณจากกำลังรับแรงอัด และความสัมพันธ์ระหว่างแรงและการหดตัวจากการทดสอบกำลังรับแรงอัด ตัวแปรหลักในการศึกษานี้คือ หน่วยแรงโอบรัดด้านข้าง ซึ่งมีค่าตั้งแต่ 0, 2.4, 4.8 และ 7.2MPa คิดเป็น 0%, 11.4%, 22.9% และ 34.3% ของกำลังอัดของแกนคอนกรีต ปลอกเหล็ก มอก. SM490 ขนาด 98x98x350 มิลลิเมตร ถูกนำมาใช้ทำเป็นปลอกเสาเพื่อโอบรัดแกนคอนกรีตซึ่งมีกำลังอัด 20.98MPa. การให้แรงทางโอบรัดทางด้านข้างจะกระทำผ่านแจ็คเก็ต ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าการเพิ่มหน่วยแรงโอบรัดด้านข้าง 11.4%-34.3% ของกำลังอัดของแกนคอนกรีต ทำให้กำลังรับแรงอัดของเสาเหล็กกรอกคอนกรีตหน้าตัดสี่เหลี่ยมจัตุรัส เพิ่มขึ้น 3.0-19.3% อย่างไรก็ตามในช่วงที่มีการให้แรงโอบรัดด้านข้างต่ำกำลังรับแรงอัดของเสาตัวอย่างเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนี้ ยังพบว่า การเพิ่มหน่วยแรงโอบรัดด้านข้างแก่เสาเหล็กกรอกคอนกรีตหน้าตัดสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยใช้แจ็คเก็ต ไม่มีประสิทธิภาพในการปรับปรุงสมรรถนะความเหนียวของเสาซึ่งแตกต่างจากกรณีหน้าตัดวงกลม

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด

รายการอ้างอิง

Auyyuenyong, C. (2011). Strengthening of axial compressive square reinforced concrete columns by preconfining with steel jackets. Civil Engineering, Suranaree University of Technology. Master of Engineering: 203.
BS1881-116 (1983). Testing concrete Part 116: Method for determination of compressive strength of concrete cubes. BS 1881-116:1983.
Cui, C. and S. A. Sheikh (2010). "Experimental study of normal- and high-strength concrete confined with fiber-reinforced polymers." Journal of Composites for Construction 14: 553-561.
Elremaily, A. and A. Azizinamini (2002). "Behavior and strength of circular concrete-filled tube columns." Journal of Constructional Steel Research 58(12): 1567-1591.
Holmes, N., et al. (2014). "Active confinement of weakened concrete columns." Materials and Structures.
Jamaluddin, N. (2011). Behaviour of elliptical concrete-filled steel tube (CFT) columns under axial compression load. School of Civil Engineering, The University of Leeds. Doctor of Philosophy: 44.
Johansson, M. and K. Gylltoft (2001). "Structural behavior of slender circular steel-concrete composite columns under various means of load application." Steel and Composite Structures 1(4): 393-410.
Kuranovas, A., et al. (2009). "Load-bearing capacity of concrete-filled steel columns." journal of civil engineering and management 15(1): 21–33.
Morino, S. and K. Tsuda (2005). "Design and construction of concrete-filled steel tube column system in japan." Earthquake Engineering and Engineering Seismology 4(1): 51-74.
Namvijitr, N. (2011). Strengthening of axial compressive circular reinforced concrete columns by preconfining with steel jackets. Civil Engineering, Suranaree University of Technology. Master of Engineering: 178.
เผยแพร่แล้ว
2020-07-09
How to Cite
[1]
ไตรวงค์ย้อยภ., โพธิ์สาวังว. และ กรีพละว. 2020. ผลของแรงโอบรัดด้านข้างต่อความเหนียวของเสาเหล็กกรอกคอนกรีตหน้าตัดสี่เหลี่ยมจัตุรัส. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), STR17.