คุณสมบัติเชิงพลศาสตร์ของประตูระบายน้ำล้น

ผู้แต่ง

  • ราชันย์ ขันทกสิกรรม ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พุทธรักษ์ จรัสพันธุ์กุล
  • ชยานนท์ หรรษภิญโญ

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์เชิงพลศาสตร์, ความปลอดภัยจากแผ่นดินไหว, ประตูระบายน้ำ, แผ่นดินไหว

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอการศึกษาคุณสมบัติเชิงพลศาสตร์ของประตูระบายน้ำจากแผ่นดินไหว ปัจจุบันนอกเหนือจากการประเมินความปลอดภัยของเขื่อนแล้วยังจำเป็นต้องพิจารณาความปลอดภัยของอาคารประกอบเขื่อนและอุปกรณ์ต่างๆ ร่วมด้วย เนื่องจากความผิดปกติของอาคารประกอบเขื่อนหรืออุปกรณ์ต่างๆ อาจส่งผลทำให้เกิดการพิบัติของเขื่อนหรือก่อให้เกิดความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงต่อพื้นที่ท้ายน้ำ สำหรับการศึกษานี้มุ่งเป้าไปที่ประตูระบายน้ำ เนื่องจากเป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งในอาคารระบายน้ำ หากมีความเสียหายเกิดขึ้นจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวอาจจะส่งผลทำให้ไม่สามารถกักเก็บหรือควบคุมน้ำในอ่างกักเก็บได้และก่อให้เกิดน้ำท่วมแบบฉับพลันในบริเวณพื้นที่ท้ายน้ำ  ในการศึกษาครั้งนี้ประตูระบายน้ำตัวแทนที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้ทำการคัดเลือกมาจากพื้นที่ในเขตภาคเหนือตอนบน โดยนำมาสร้างแบบจำลองจากนั้นทำการวิเคราะห์การตอบสนองไม่เชิงเส้นแบบประวัติเวลา (Nonlinear Response Time-History Analysis) ด้วยแบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์โดยใช้คลื่นแผ่นดินไหวที่สอดคล้องกับแผ่นดินไหวรุนแรงสูงสุดที่พิจารณา(Maximum Considered Earthquake, MCE) ตามมาตรฐานการออกแบบอาคารต้านทานการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว (มยผ.1302-61) สำหรับผลการวิเคราะห์จากการศึกษานี้ได้นำเสนอคุณสมบัติเชิงพลศาสตร์ของประตูระบายน้ำรวมถึงข้อสังเกตในด้านความปลอดภัยของเขื่อนจากแผ่นดินไหวร่วมด้วย

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-09

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##