การศึกษาประสิทธิภาพโครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองจันทบุรี

ผู้แต่ง

  • เกรียงไกร ตรีฤทธิวิทยา สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
  • ชัยวัฒน์ เอกวัฒน์พานิชย์
  • อลงกต ไชยอุปละ
  • จักรพันธุ์ วงษ์พา

คำสำคัญ:

น้ำท่วม, ลุ่มน้ำจันทบุรี, บรรเทาอุทกภัย, ปริมาณฝน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพโครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองจันทบุรี โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ซึ่งทำการวิเคราะห์ตั้งแต่สถานีวัดน้ำ Z.14 สถานีวัดน้ำ Z.13 อ.มะขาม จ.จันทบุรี จนถึงปากแม่น้ำจันทบุรี อ.เมือง จ.จันทบุรี ซึ่งทำการปรับเทียบแบบจำลอง 2 ส่วนคือ แบบจำลองน้ำฝน-น้ำท่า และแบบจำลองชลศาสตร์ ซึ่งผลการปรับเทียบและตรวจพิสูจน์แบบจำลองน้ำฝน-น้ำท่า ได้ค่าพารามิเตอร์ Umax = 10.-19.1 มม., Lmax = 101-104 มม., CQOF = 0.38-0.87 ชม., CKIF = 213.6-214.9, CK1,2 = 16.4, TOF = 0.42-0.51, TIF = 0.15-0.24, TG = 0.9 และ CKBF = 3901 มีค่าดัชนีการยอมรับ (IA) อยู่ในระหว่าง 0.89-0.92 และแบบจำลองชลศาสตร์มีค่า Manning’s M เท่ากับ 20-22 และผลการปรับเทียบและตรวจพิสูจน์มีค่าดัชนีการยอมรับ (IA) อยู่ในช่วง 0.79-0.92 จากนั้นนำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ไปประยุกต์วิเคราะห์ประสิทธิภาพโครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองจันทบุรี จากข้อมูลอุทกภัยปี พ.ศ.2542 และมีการผันน้ำที่อัตราการไหลเท่ากับ 300 ลบ.ม./วินาที และเมื่อศึกษาการวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจากข้อมูลปี พ.ศ.2542 ร้อยละ 25, 50, 75 และ 100 จากผลการศึกษาพบว่าโครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองจันทบุรี สามารถบรรเทาอุทกภัยในปี พ.ศ.2542 ซึ่งเป็นพื้นที่ประสบกับอุทกภัยที่รุนแรง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเมื่อข้อมูลปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจากข้อมูลปี พ.ศ.2542 อีกร้อยละ 50 จะทำให้เกิดอุทกภัยในพื้นที่อำเภอเมืองจันทบุรี

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

[1] DHI Water and Environment, (2000), MIKE11 A modeling System for Rivers and Channels User Guide, DHI.

[2] สำนักงานชลประทานที่ 9 กรมชลประทาน, (2550), โครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองจันทบุรี (แผนระยะที่ 2), รายงานฉบับสมบูรณ์ของ กรมชลประทาน จังหวัดจันทบุรี.

[3] เกรียงไกร ตรีฤทธิวิทยา, ชัยวัฒน์ เอกวัฒน์พานิชย์และสนิท วงษา, (2554), การประมาณค่าความเสียหายจากอุทกภัยของจังหวัดจันทบุรี, การประชุมวิชาการวิศวกรรมแหล่งน้ำแห่งชาติ ครั้งที่ 4,เพรชบุรี, 18-19 สิงหาคม 2554 หน้า 262-267

[4] สุจริต คูณธนกุลวงศ์, วิรัช ฉัตรดรงค์วินัย เชาวน์วิวัฒน์, โชคชัย สุทธิธรรมจิต, วิชญาณ เจริญกุลและ วิชุตา เหมเสถียร (2553), ผลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกต่อปริมาณน้ำฝน/ น้ำท่ารายเดือนของประเทศไทย, รายงานฉบับสมบูรณ์ของ สกว.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-07