การประเมินดีกรีการอัดตัวคายน้ำสำหรับดินเหนียวอ่อนกรุงเทพด้วยวิธีอาซาโอกะ

ผู้แต่ง

  • สินาด โกศลานันท์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
  • ชัยศาสตร์ สกุลศักดิ์ศรี
  • อลงกต ไชยอุปละ

คำสำคัญ:

ดีกรีการอัดตัวคายน้ำ, ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ, วิธีอาซาโอกะ, แผ่นระบายน้ำในแนวดิ่ง

บทคัดย่อ

การปรับปรุงดินเหนียวอ่อนด้วยวิธีการใช้แผ่นระบายน้ำแนวดิ่งร่วมกับน้ำหนักกดทับเป็นวิธีที่นิยมใช้กันทั่วโลก โดยเฉพาประเทศไทยซึ่งมีโครงการก่อสร้างใหญ่ ๆ ที่ใช้วิธีนี้เช่น โครงการก่อสร้างถนนมอเตอร์เวย์สายกรุงเทพ-ชลบุรี  โครงการก่อสร้างถนนวงแหวนรอบนอก และโครงการปรับปรุงคุณภาพดินสำหรับทางจอด ทางวิ่ง และทางขับเครื่องบิน ที่สนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ เป็นต้น การประเมินดีกรีการอัดตัวคายน้ำนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเพื่อใช้เป็นหนึ่งในดัชนีสำหรับการตัดสินใจย้ายน้ำหนักกดทับออกจากพื้นที่ปรับปรุงคุณภาพดิน การวิเคราะห์นี้สามารถทำได้โดยการสังเกตในสนามจากการวัดการทรุดตัวของดินที่ปรับปรุงจากแผ่นวัดการทรุดตัว ข้อมูลการทรุดตัวในสนามถูกวิเคราะห์ด้วยวิธีของอาซาโอกะเพื่อทำนายค่าการทรุดตัวสูงสุดเนื่องจากน้ำหนักกดทับและดีกรีการอัดตัวคายน้ำ รวมถึงการวิเคราะห์ย้อนกลับของข้อมูลการทรุดตัวสามารถให้ค่าสัมประสิทธิ์ของการอัดตัวคายน้ำตามแนวราบได้ วัตถุประสงค์ของบทความนี้คือ การศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำนายค่าการทรุดตัวสูงสุด ดีกรีการอัดตัวคายน้ำ และค่าสัมประสิทธิ์ของการอัดตัวคายน้ำตามแนวราบด้วยวิธีอาซาโอกะ โดยอาศัยข้อมูลการทรุดตัวในสนามของโครงการปรับปรุงคุณภาพดินสำหรับทางจอด ทางวิ่ง และทางขับเครื่องบิน ที่สนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ จากผลการศึกษาพบว่า เมื่อใช้ช่วงเวลาประเมินที่ยาวนานจะได้ค่าการทรุดตัวสูงสุดที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ได้ดีกรีการอัดตัวคายน้ำที่ลดลงและสัมประสิทธิ์ของการอัดตัวคายน้ำตามแนวราบน้อยลงด้วย และ ความห่างของข้อมูลไม่มีผลต่อการทำนายค่าการทรุดตัวสูงสุด ดีกรีการอัดตัวคายน้ำ  และสัมประสิทธิ์ของการอัดตัวคายน้ำตามแนวราบ นอกจากนี้กราฟความสัมพันธ์ระหว่างการทรุดตัวกับเวลาสามารถสร้างได้โดยง่ายจากคำนวณย้อนหลัง ซึ่งหากระยะเวลาอ่านข้อมูลมากก็จะให้ผลที่สอดคล้องกับข้อมูลในสนามมาก

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-08

วิธีการอ้างอิง