การประยุกต์ใช้การสำรวจด้วยอากาศยานไร้คนขับเพื่อการสำรวจรังวัดปริมาตรหิน บริเวณเหมืองหินเขาบันไดนางศิลา จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • ต่อลาภ การปลื้มจิตร สาขาวิชาวิศวกรรมสำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
  • วีระวัฒน์ เกตุทอง
  • ณัฐวุฒิ พูลภักดี
  • ศุภกิตติ์ พรหมเมศร์

คำสำคัญ:

อากาศยานไร้คนขับ, การรังวัดภาพเชิงเลข, ปริมาตรเหมืองหิน

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอการศึกษาเรื่องการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสำรวจด้วยการรังวัดภาพถ่ายทางอากาศจากอากาศยานไร้คนขับหรือ UAVs ขนาดเล็กสำหรับการสำรวจเพื่อหาปริมาตรหินในเหมืองหิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้การประมวลผลภาพถ่ายทางอากาศจาก UAVs รังวัดปริมาตรหินและเปรียบเทียบปริมาตรหินจากผลการประมวลผลภาพถ่ายฯ จากจำนวนจุดควบคุมภาคพื้นดินที่แตกต่างกัน รังวัดด้วยเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม GNSS วิธี NRTK พื้นที่ศึกษาเหมืองหินเขาบันไดนาง จังหวัดสงขลา บินถ่ายภาพที่ความสูงบิน 120 ม. จำนวน 250 ภาพ ขนาดจุดภาพ 3.38 ซม. ผลการรังวัดภาพถ่ายฯ ค่าความคลาดเคลื่อนของปรับแก้บล็อค 0.138 จุดภาพ ผลการคำนวณปริมาตรหิน แบบไม่ใช้จุดควบคุมภาคพื้นดินคิดเป็นปริมาตรได้ 1,100,405.80 ลบ.ม. จุดควบคุม 1 จุด 1,194,680.07 ลบ.ม. จุดควบคุม 2 จุด 1,194,893.64 ลบ.ม. จุดควบคุม 3 จุด 1,194,701.21 ลบ.ม.จุดควบคุม 4 จุด 1,194,099.52 ลบ.ม. และแบบวิธีการใช้จุดวบคุม ตามมาตรฐาน 5 จุด คิดปริมาตรได้ 1,765,878.93 ลบ.ม. จุดควบคุม 6 จุด 1,765,801.67 ลบ.ม.

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-08

วิธีการอ้างอิง

[1]
การปลื้มจิตร ต. และคณะ 2020. การประยุกต์ใช้การสำรวจด้วยอากาศยานไร้คนขับเพื่อการสำรวจรังวัดปริมาตรหิน บริเวณเหมืองหินเขาบันไดนางศิลา จังหวัดสงขลา. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), SGI12.