การกำหนดเพื่อเลือกใช้แรงงานต่างด้าวในอุตสาหกรรมก่อสร้างเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ฐิติวัฒน์ ตรีวงศ์ ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
  • ถิรรัตน์ นาคาคง ภาคเทคโนโลยีวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • กนกวรรณ ไชยนุรักษ์ ภาคเทคโนโลยีวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • จำรูญ หฤทัยพันธ์ ภาคเทคโนโลยีวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

แรงงานก่อสร้างต่างด้าว, ชนิดอุตสาหกรรมก่อสร้าง, กำหนดการเลือกใช้, ดัชนีความสำคัญสัมพันธ์

บทคัดย่อ

อุตสาหกรรมก่อสร้างในประเทศไทยขณะนี้กำลังเผชิญกับภาวะขาดแคลนแรงงานมีฝีมือในประเทศ เนื่องด้วยแรงงานฝีมือเหล่านี้เปลี่ยนไปทำอาชีพที่มีรายได้แน่นอนกว่าและสูงกว่า ดังนั้นแรงงานต่างด้าวจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สำคัญในอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อให้เกิดการพัฒนาฝีมือแรงงานต่างด้าวอย่างยั่งยืน จึงจำเป็นที่เราต้องเข้าใจปัญหาและให้ความสนใจอย่างจริงจัง การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบทำให้แรงงานไทยและแรงงานต่างด้าวแตกต่างกันในอุตสาหกรรมก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานคร ทั้งโครงการก่อสร้างอาคารสูงและโครงการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยในมุมมองผู้ว่าจ้างคนไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการสัมภาษณ์ตัวแทนผู้ประกอบการ 3 กลุ่ม ได้แก่ วิศวกรโครงการ วิศวกรคุมงานและโฟร์แมน จำนวน 32 คน ด้วยวิธีดัชนีความสำคัญสัมพัทธ์ ผลจากศึกษาพบว่าแรงงานต่างด้าวส่วนใหญ่เป็นชาวกัมพูชาและพม่า ตามลำดับ ในอุตสาหกรรมก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยพบว่ามีแรงงานต่างด้าวทำงานมากกว่าในอุตสาหกรรมก่อสร้างอาคารสูง อีกทั้งพบว่าปัจจัยเพศและการจ่ายเงินล่วงเวลาให้ค่าดัชนีความสำคัญสัมพันธ์สูงทั้งงานอาคารสูงและอาคารที่พักอาศัย ส่งผลให้การเลือกใช้แรงงานต่างด้าวในอุตสาหกรรมก่อสร้างเขตกรุงเทพมหานครเป็นที่น่าสนใจ

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

เอกสารอ้างอิง

[1] สำนักงานสถิติแห่งชาติ (2557). การประมวลข้อมูลพื้นที่การก่อสร้าง พ.ศ.2557. สำนักสถิติพยากรณ์, หน้า 35.
[2] สำนักงานสถิติแห่งชาติ (2558). การประมวลข้อมูลพื้นที่การก่อสร้าง พ.ศ.2558. สำนักสถิติพยากรณ์, หน้า 31.
[3] สำนักงานสถิติแห่งชาติ (2558). การประมวลข้อมูลพื้นที่การก่อสร้าง พ.ศ.2558. สำนักสถิติพยากรณ์, หน้า 31.
[4] สำนักงานสถิติแห่งชาติ (2559). การประมวลข้อมูลพื้นที่การก่อสร้าง พ.ศ.2559. สำนักสถิติพยากรณ์, หน้า 37.
[5] สำนักงานสถิติแห่งชาติ (2560). การประมวลข้อมูลพื้นที่การก่อสร้าง พ.ศ.2560. สำนักสถิติพยากรณ์, หน้า 48.
[6] สำนักงานสถิติแห่งชาติ (2561). การประมวลข้อมูลพื้นที่การก่อสร้าง พ.ศ.2561. สำนักสถิติพยากรณ์, หน้า 52.
[7] อทิตยา สุวรรณโณ (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้แรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบการธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในจังหวัดสงขลา. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, ไทย.
[8] สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2560). รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย, ธนาคารแห่งประเทศไทย, หน้า 7.
[9] สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว (2562). สถิติจำนวนคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานคงเหลือทั่วราชอาณาจักร ประจำเดือนธันวาคม 2562. กลุ่มพัฒนาระบบควบคุมการทำงานของต่างด้าว, หน้า 59-60.
[10] Hare, B., Cameron, L., Real, K.J. and Maloney, W.F. (2013). Exploratory case study of pictorial aids for communicating health and safety for migrant construction workers. Journal of Construction Engineering and Management, 139(7), pp.818-825.
[11] Ling, F.Y.Y., Dulaimi, M.F. and Chua, M.H. (2013). Strategies for managing migrant construction workers from China, India, and the Philippines. Journal of Professional Issues in Engineering Education & Practice, 139(1), pp.19-26.
[12] Al-Bayati, A.J., Abudayyeh, O., Fredericks, T. and Butt, S.E. (2017). Reducing fatality rates of the hispanic workforce in the U.S. construction Industry: challenges and strategies. Journal of Management in Engineering, 143(3), pp.1-10.
[13] Lin, K.Y., Lee, W., Azari, R. and Migliaccio, G.C. (2018). Training of low-literacy and low-english-proficiency hispanic workers on construction fall fatality. Journal of Management in Engineering, 34(2), pp.1-13.
[14] Al-Bayati, A.J. (2019). Satisfying the need for diversity training for hispanic construction workers and their supervisors at US construction workplaces: a case study. Journal of Management in Engineering, 145(6), pp.1-8.
[15] Odediran, S.J. and Windapo, A.O. (2017). Mitigating risks in African construction markets through the interactive behavior of resources and capabilities in multinational construction companies and entry decisions. Journal of Management in Engineering, 33(2), pp.1-14.
[16] สุรัชนี เคนสุโพธิ์ (2560). การศึกษาสภาพการจ้างงาน ปัจจัยจูงใจส่งเสริม และกระบวนการเข้าสู่การจ้างงานแรงงานข้ามชาติของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ ในจังหวัดอุดรธานีและหนองคาย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, ปีที่ 8, ฉบับพิเศษตุลาคม, หน้า 36 – 58.
[17] อลงกต ฐานวัฒนศิริ (2556). การวิเคราะห์ปัญหาการจ้างแรงงานต่างด้าวของผู้รับเหมาก่อสร้างไทย : ปัญหาการขาดแคลนแรงงานไทยเกิดขึ้นในช่วงที่สภาวะเศรษฐกิจและการก่อสร้างมีขยายตัวสูง. วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ไทย.
[18] Odeh, A.M. and Battaineh, H.T. (2002). Cause of construction delay: traditional contracts. International Journal of Project Management, 20, pp.67-73.
[19] Puerto, C.L., Clevenger, C.M., Boremann, K. and Gilkey, D.P. (2014). Exploratory study to identify perceptions of safety and risk among residential latino construction workers as distinct from commercial and heavy civil construction workers. Journal of Construction Engineering and Management, 140(2), pp.1-7.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-08

วิธีการอ้างอิง