การศึกษาประสิทธิภาพของผนังสำเร็จรูปจากคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่า
คำสำคัญ:
ผนัง, คอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่าบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างผนังคอนกรีตสำเร็จรูปปกติและผนังคอนกรีตสำเร็จรูปมวลเบาระบบเซลลูล่า โดยทางผู้วิจัยได้ทำการหล่อตัวอย่างผนังคอนกรีตสำเร็จรูปขนาด สูง 200 × 60 × 10 เซนติเมตร เพื่อนำมาทำการทดสอบ จำนวน 6 ประเภท ได้แก่ ผนังคอนกรีตปกติ กับคอนกรีตปกติเสริมเหล็ก, ผนังคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่ากับคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่าเสริมเหล็กและผนังคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่าที่มีมวลรวมหยาบกับคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่าที่มีมวลรวมหยาบเสริมเหล็ก โดยทดสอบหาหน่วยน้ำหนัก อัตราการดูดซึมน้ำและความทนการกระแทก ผลการทดสอบหน่วยน้ำหนักพบว่า คอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่ามีหน่วยน้ำหนักออยู่ที่ 1600 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่าที่มีมวลรวมหยาบมีหน่วยน้ำหนักอยู่ที่ 1995 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ผลการทดสอบอัตราการดูดซึมน้ำพบว่าคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่ามีอัตราการดูดซึมน้ำ ร้อยละ 25.81 และคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่าที่มีมวลรวมหยาบมีอัตราการดูดซึมน้ำ ร้อยละ 16.32 การทดสอบความทนการกระแทกผนังด้วยลูกตุ้มน้ำหนัก 50 กิโลกรัม ทดสอบตามมาตรฐาน มอก. 2226 – 2548 ผลการทดสอบเมื่อเปรียบเทียบผนังทั้ง 6 ประเภท พบว่าคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่าที่มีมวลรวมหยาบและคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่าที่มีมวลรวมหยาบเสริมเหล็ก มีการโก่งตัวสูงที่สุด เนื่องด้วยภายในเนื้อของคอนกรีตมวลเบาเซลลูล่ามีลักษณะเป็นรูพรุน จึงไม่มีความสามารถในการยึดเกาะมวลรวมได้ดี ส่งผลให้คอนกรีตมวลเบาเซลลูล่าที่มีมวลรวมหยาบมีค่ากำลังรับแรงอัดที่น้อยที่สุด ผลการทดสอบความทนการกระแทกจึงมีค่าการโก่งตัวมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐาน มอก 2226 – 2548 พบว่าแผ่นผนังอยู่ในเกณฑ์ตามมาตรฐานซึ่งมีค่าการโก่งตัว ไม่เกิน 2 มิลลิเมตร
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์