การประเมินมูลค่าความเสียหายจากน้ำท่วมในพื้นที่เกษตรกรรมโดยการใช้ปัจจัยที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้
คำสำคัญ:
พื้นที่เกษตรกรรม, ผลประโยชน์ที่จับต้องไม่ได้, อำเภอเสนาบทคัดย่อ
พื้นที่เกษตรกรรมในอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้รับผลผลกระทบจากน้ำท่วมมาตั้งแต่อดีต โดยความเสียหายจะแตกต่างกันไปตามลักษณะพื้นที่และลักษณะครัวเรือน การประเมินมูลค่าความเสียหายที่เกิดจากน้ำท่วมหากพิจารณาเพียงความเสียหายที่จับต้องได้เพียงอย่างเดียวจะทำให้มูลค่าความเสียหายต่ำหรือไม่ตรงกับสภาพความเป็นจริง การนำปัจจัยความเสียหายที่จับต้องไม่ได้มาพิจารณาร่วมจะทำให้ผลการวิเคราะห์มีถูกต้องมากยิ่งขึ้น การศึกษาในครั้งนี้ประกอบไปด้วย การจัดทำแบบจำลองทางชลศาสตร์เพื่อจำลองพื้นที่น้ำท่วมในรอบการเกิดซ้ำต่างๆ จากนั้นนำผลที่ได้ไปวิเคราะห์ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ด้วยเทคนิคการซ้อนทับกับปัจจัยความเสียหายที่แยกเป็นมูลค่าที่จับต้องได้และมูลค่าที่จับต้องไม่ได้ซึ่งได้แก่ การหยุดชะงักของการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การฟื้นฟูดินและน้ำ การรวมกลุ่มครือข่ายชุมชน ฯลฯ เพื่อให้ได้มูลค่าความเสียหายที่มีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น เพื่อใช้เป็นมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์สำหรับการเสนอแนะแนวทางการป้องกันความเสียหายและมาตรการบริหารจัดการน้ำท่วมทั้งมาตรการที่ไม่ใช้สิ่งก่อสร้างและมาตรการที่ใช้สิ่งก่อสร้างอย่างเหมาะสมต่อไป ผลของการศึกษาพบว่า คาบการเกิดน้ำท่วมรอบ 10 ปี 25 ปี 50 ปี และ 100 ปี ส่งผลให้พื้นที่เกษตรกรรมได้รับผลกระทบคิดเป็นพื้นที่ 91.09 ตร.กม. 108.97 ตร.กม. 119.72 ตร.กม. และ 127.50 ตร.กม.ตามลำดับ หากนำมูลค่าความเสียหายจากปัจจัยผลประโยชน์ที่จับต้องไม่ได้มาใช้พิจารณาร่วมจะส่งผลให้มีมูลค่าความเสียหายเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 16.89 % เมื่อเทียบกับการใช้ปัจจัยผลประโยชน์ที่จับต้องได้เพียงอย่างเดียว
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์