สัมประสิทธิ์ความขรุขระของทางน้ำเปิดที่มีขยะและผักตบชวา
คำสำคัญ:
การทดลองในห้องปฏิบัติการ, ทางน้ำเปิด, คลอง, สัมประสิทธิ์ความขรุขระของแมนนิ่ง, ขยะบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อที่จะหาสัมประสิทธิ์ความขรุขระของทางน้ำเปิด (Manning’s roughness coefficient, n) ของทางน้ำที่มีขยะและผักตบชวา โดยศึกษาในห้องปฏิบัติการและทดลองในรางน้ำเปิดหน้าตัดสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 0.60 เมตร ยาว 16 เมตร สูง 0.75 เมตร ที่มีการไหลเวียนของน้ำ ในห้องปฏิบัติการแบบจำลองชลศาสตร์และชายฝั่งทะเล ภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การศึกษานี้ได้จำลองขยะที่ลอยอยู่บนผิวน้ำด้วยวัสดุพลาสติกถ่วงน้ำหนักและไม้ จำนวน 75 การทดลอง และผักตบชวา 50 การทดลอง โดยข้อมูลความลึกการไหลในรางน้ำอยู่ระหว่าง 0.45 เมตร ถึง 0.60 เมตร และอัตราการไหลของน้ำอยู่ระหว่าง 7.87 ลิตรต่อวินาที ถึง 17.4 ลิตรต่อวินาที ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า ทางน้ำที่มีขยะและผักตบชวาทำให้ค่า n ลดลงสูงสุดประมาณ 20% และ 17% ตามลำดับ ความยาวของขยะและผักตบชวาที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ค่า n เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่า ระยะจมของขยะและผักตบชวาเพิ่มขึ้นส่งผลให้ค่า n เพิ่มขึ้น
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์