วิธีการผันน้ำเพื่อการชลประทานสำหรับลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างในฤดูแล้ง

ผู้แต่ง

  • ชวลิต ชาลีรักษ์ตระกูล
  • คุณานนต์ ศรีสุทิวา ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

การถดถอย, การแจกแจงความน่าจะเป็น, เขื่อนผันน้ำ, ลุ่มน้ำเจ้าพระยา

บทคัดย่อ

การผันน้ำให้ตรงตามแผนการส่งน้ำเข้าสู่พื้นที่ชลประทาน เป็นพื้นฐานที่สำคัญในการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างระหว่างช่วงฤดูแล้งให้มีประสิทธิภาพ ดังนั้นการศึกษานี้จึงนำเสนอวิธีการผันน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยา ซึ่งประกอบด้วยความสัมพันธ์ถดถอยแบบควอนไทล์ (quantile regression) ระหว่างข้อมูลระดับน้ำเหนือเขื่อนกับอัตราการผันน้ำเข้าแม่น้ำและคลองที่สนใจ (2540 - 2561) และการแจกแจงความน่าจะเป็นแบบการแจกแจงล็อกนอร์มอล(lognormal distribution) ของข้อมูลปริมาณน้ำต้นทุนรวมของเขื่อนภูมิพลและสิริกิตติ์สำหรับช่วงฤดูแล้ง (2540-2561) ความสัมพันธ์ถดถอยแบบควอนไทล์เหมาะสมกว่าการถดถอยแบบกำลังสองน้อยที่สุด (least squares regression) เพราะงานวิจัยนี้สนใจฟังก์ชั่นแบบมีเงื่อนไขกับควอนไทล์ นอกจากนี้ มันยังแปรปรวนน้อยกว่า เมื่อต้องใช้ประมาณการกรณีสุดโต่งด้วย ขั้นตอนการประยุกต์ใช้วิธีการที่พัฒนาขึ้นนี้เริ่มต้นโดยใช้แบบจำลองหาระดับความน่าจะเป็นของข้อมูลน้ำต้นทุนรวม จากนั้นประยุกต์ความสัมพันธ์ถดถอย ในการประมาณการอัตราการผันน้ำด้วยระดับความน่าจะเป็นที่ได้พร้อมทั้งข้อมูลระดับน้ำเหนือเขื่อน ผลการประยุกต์วิธีการผันน้ำที่เสนอเข้าสู่แม่น้ำน้อยผ่านทางประตูระบายน้ำบรมธาตุ และแม่น้ำท่าจีนผ่านทางประตูระบายน้ำพลเทพ พบว่า วิธีการนี้สามารถส่งน้ำให้กับพื้นที่ชลประทานได้ตรงตามแผนมากกว่าข้อมูลการผันน้ำเดิม

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-08

วิธีการอ้างอิง

[1]
ชาลีรักษ์ตระกูล ช. และ ศรีสุทิวา ค. 2020. วิธีการผันน้ำเพื่อการชลประทานสำหรับลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างในฤดูแล้ง. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), WRE15.