การคาดการณ์ภัยแล้งในอนาคตภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยดัชนี SPI

ผู้แต่ง

  • ปริชาติ เวชยนต์ ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • วสันต์ สกุลกิจกาญจน์ คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, WRF, CMIP5 HadGEM2-ES, ภัยแล้ง, SPI

บทคัดย่อ

เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบันนั้นเริ่มส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน ในการศึกษาครั้งนี้จึงนำข้อมูลที่คำนวณจากแบบจำลอง HadGEM2-ES จากช่วงเวลาอดีต 35 ปี (ปี ค.ศ. 1971-2005) นำมาหาค่าอคติที่อาจเกิดจากระบบของแบบจำลอง จากนั้นนำค่าอคติที่หาได้มาปรับแก้ข้อมูลที่ทำนายจากแบบจำลอง HadGEM2-ES ในช่วงเวลาอนาคต (ปี ค.ศ. 2020-2040) ภายใต้ Scenario การเพิ่มความเข้มข้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ CMIP5 RCP 4.5 เพื่อใช้คาดการณ์การเกิดภัยแล้งในอนาคตอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจากดัชนี SPI ซึ่งผลการศึกษาพบว่าข้อมูลปริมาณฝนจากแบบจำลอง HadGEM2-ES การปรับแก้ค่าอคติด้วยวิธีแบบบวก ให้ค่าใกล้เคียงมากกว่าการปรับแก้ค่าอคติแบบคูณ และในช่วงปี 2020 ถึงปี 2040 ปริมาณฝนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีแนวโน้มปริมาณฝนเฉลี่ยในอนาคตมีค่าคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก แต่ลักษณะการตกของฝนจะเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต คือ จากที่ฝนตกไม่แรงมาก แต่ตกหลายวันสม่ำเสมอตลอดปี เปลี่ยนเป็นฝนจะตกแรงมากขึ้นแต่จำนวนวันที่ฝนตกจะน้อยลง ผลการศึกษาแสดงค่าดัชนี SPI เฉลี่ยในพื้นที่จังหวัดนครนายกมีค่าระหว่าง -2.0 ถึง 2.0 พบว่าในปี 2020 ถึงปี 2040 เกิดสภาวะชื้นหรือฝนตกมากกว่าปกติ จำนวน 35 เดือน และเกิดสภาวะแห้งแล้ง จำนวน 27 เดือน

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-08

วิธีการอ้างอิง