พฤติกรรมการดัดของคานเหล็กกล่องกลวงที่มีการเติมคอนกรีตบางส่วน
คำสำคัญ:
คานเหล็กกล่อง, เหล็กกล่องกรอกคอนกรีต, กำลังรับแรงดัดบทคัดย่อ
โดยทั่วไปการกรอกคอนกรีตในคานช่วยให้เพิ่มความสามารถในการรับกำลังของคานได้อย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากคอนกรีตเป็นส่วนช่วยให้ความสามารถในการรับแรงอัดซึ่งเป็นส่วนประกอบของการดัดของคานเหล็กกล่องกลวงเพิ่มขึ้น กล่าวคือเดิมที่คานไม่เสริมคอนกรีตนั้นเหล็กด้านรับแรงอัดจะรับแรงจนกระทั่งเหล็กเกิดการโก่งเดาะเฉพาะที่ ซึ่งถือเป็นกำลังสูงสุดที่คานสามารถต้านทานการดัดได้ ต่อเมื่อมีการกรอกคอนกรีตลงในคานแล้ว คอนกรีตก็จะช่วยรับแรงอัดดังกล่าว ส่งผลให้คานสามารถรับการดัดได้มากขึ้น อย่างไรก็ตามยังพบว่ากำลังรับการดัดของคานกรอกคอนกรีตยังคงถูกควบคุมด้วยการโก่งเดาะเฉพาะที่ของเหล็กอยู่ดี นอกจากนี้งานวิจัยที่ผ่านมายังแสดงให้เห็นว่าการโก่งเดาะเฉพาะที่มักเกิดขึ้นเฉพาะบริเวณที่มีแรงดัดสูงสุด ดังนั้นการศึกษานี้จึงมุ่งศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการดัดของคานเหล็กกล่องกลวงที่มีการกรอกคอนกรีตบางส่วน โดยมีแนวคิดในการลดน้ำหนักบรรทุกคงที่ที่อาจไม่มีผลต่อการรับกำลังดัดลง การกรอกคอนกรีตจะกรอกเฉพาะบริเวณกลางคานโดยคิดเป็นการกรอกคอนกรีต 50 เปอร์เซ็นต์ของความยาวคาน คานเหล็กที่ทั้งกรอกคอนกรีตเต็มความยาว กรอกคอนกรีต 50 เปอร์เซ็นต์ของความยาวคาน และไม่กรอกคอนกรีต ผลการศึกษาพบว่าการกรอกคอนกรีตในคานบางส่วนเทียบกับคานเหล็กกล่องกลวงพบว่าสามารถช่วยเพิ่มกำลังดัดได้สูงสุด 1.379-1.615 ตัน-เมตร และอภิปรายผลในบทความนี้
Downloads
เอกสารอ้างอิง
[2] J. M. Flor ,R. H. Fakury and R.B. Caldas, Experimental study on the flexural behavior of largescale rectangular concrete filled steel tubular beams. Ibracon Structure and Materials Journal, Volumn 10, Number 4 (August 2017) p. 895-905 ISSN 1984-4195
[3] Ahmed A.M. Al-Shaar, Flexural behavior of Lightweight concrete and Self-Compacting concrete filled Steel tube beams. Journal of Constructional Steel research 149, 2018. p. 153-164
[4] Salam Al – Obaidi , Thulfiqar Salim and Sadjad Amir Hemzah , Flexural behavior of Concrete filled Steel tube composite with Different concrete compressive strength. International Journal of Civil Engineering and Technology (IJCIET), Volumn 9 , July 2018, pp. 824-832
[5] Committee, A., Specification for Structural steel Building (ANSI/AISC 360-16). American Institute of Steel Construction, Chicago, Illinois60601-1802, 2016
[6] ทักษิณ เทพชาตรี และ อัครวัชร เล่นวารี, พฤติกรรมและการออกแบบโครงสร้างเหล็ก ปรับปรุงครั้งที่ 5. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2019
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์