การผลิตปุ๋ยหมักจากเศษอาหารช้างร่วมกับมูลช้างและการมูลหมัก ด้วยวิธีการหมักแบบไร้อากาศ

ผู้แต่ง

  • เก่งกาจ จันทร์กวีกูล ภาควิชาวิศกรรมโยธา คณะวิศกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • ฐนียา รังษีสุริยะชัย ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

คำสำคัญ:     ปุ๋ยหมัก, เศษวัสดุอาหารช้าง, กากมูลหมัก, มูลช้าง, การหมักแบบไร้อากาศ

บทคัดย่อ

การศึกษาการผลิตปุ๋ยหมักจากเศษอาหารช้างร่วมกับมูลช้างและกากมูลหมักด้วยวิธีการหมักแบบไร้อากาศ โดยทำการทดลองในระดับห้องปฏิบัติการในชุดการทดลองการหมักไร้อากาศแบบขั้นตอนเดียวที่มีการควบคุมอุณหภูมิที่ 55 องศาเซลเซียส โดยทำการหมักในอัตราส่วนหญ้าเนเปียร์ : เหง้าสับปะรด : มูลช้าง : กากมูลหมักจากกระบวนการหมักแก๊สชีวภาพ เท่ากับ 2.5 : 2.5 : 3.5 : 1.5  โดยปริมาตร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะของปุ๋ยหมักแบบไร้อากาศที่เกิดขึ้นจากการหมักปุ๋ยด้วยวัสดุผสมระหว่าง เศษหญ้าเนเปียร์ เหง้าสับปะรด กากมูลหมัก และมูลช้าง จากผลการทดลองพบว่าที่ระยะเวลาการทดลอง 45 วัน ปุ๋ยที่ได้มีลักษณะทางกายภาพคือมีลักษณะเป็นปุ๋ยของแข็งกึ่งเหลว สีน้ำตาล กลิ่นของปุ๋ยมีลักษณะเป็นกลิ่นเปรี้ยว ปัจจัยควบคุมต่าง ๆ ได้แก่ ค่าความเป็นกรด-ด่างอยู่ในช่วง 5-6 ค่าความชื้นอยู่ในช่วงร้อยละ 70-80 และค่าอุณหภูมิอยู่ในช่วง 50-55 องศาเซลเซียส ในส่วนของค่าธาตุอาหารที่จำเป็นต่อพืช ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ในวันสุดท้ายของการหมัก มีค่าเท่ากับร้อยละ 0.42 0.57 และ 0.035 ตามลำดับ พบว่ามีค่าที่เป็นไปตามค่ามาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ของกรมวิชาการเกษตร ยกเว้นโพแทสเซียมที่มีค่าต่ำกว่ามาตรฐาน ซึ่งผลผลิตจากการหมักนี้สามารถใช้ฟื้นฟูดินที่เสื่อมโทรมให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นได้

 

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-07

วิธีการอ้างอิง

[1]
จันทร์กวีกูล เ. และ รังษีสุริยะชัย ฐ. 2020. การผลิตปุ๋ยหมักจากเศษอาหารช้างร่วมกับมูลช้างและการมูลหมัก ด้วยวิธีการหมักแบบไร้อากาศ. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), ENV02.