การวิเคราะห์จุดจอดแล้วจรด้วยปัญหาพี-ฮับ ภายใต้ข้อจำกัดความจุ
บทคัดย่อ
ปัญหาการจราจรเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นและพบได้มากในพื้นที่เขตเมือง ปัญหาดังกล่าวเกิดจากการนิยมใช้ยานพาหนะส่วนบุคคลในการเดินทาง ภายใต้ความจุของถนนที่มีอย่างจำกัดจึงมีการผลักดันให้มีการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ เพื่อลดปริมาณการจราจรบนถนน การสร้างจุดจอดแล้วจร (Park and Ride) เป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้ผู้เดินทางหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะ เป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างยานพาหนะส่วนบุคคลและระบบขนส่งสาธารณะ การคัดเลือกตำแหน่งจุดจอดแล้วจรจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องพิจารณาปฏิสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเดินทางและความสามารถในการให้บริการของจุดจอดแล้วจรในพื้นที่ที่จะทำการคัดเลือก โดยการศึกษานี้พัฒนาแบบจำลองพี-ฮับบนพื้นฐานแบบจำลองพหุนามโลจิต (Multinomial Logit) เพื่อคัดเลือกตำแหน่งจุดจอดแล้วจรที่สามารถดึงดูดจำนวนผู้ใช้สูงสุด ภายใต้ข้อจำกัดด้านงบประมาณและความจุของจุดจอดแล้วจร เทคนิค special ordered sets of Type 2 (SOS2) ได้นำมาปรับใช้เพื่อเปลี่ยนสมการข้อจำกัดแบบไม่เป็นเชิงเส้นตรง (Non-linear) ให้เป็นสมการข้อจำกัดแบบเชิงเส้น (Linear) ซึ่งผลจากการวิเคราะห์พบว่า แบบจำลองดังกล่าวที่เป็นโปรแกรมเชิงเส้นจำนวนเต็มแบบผสม (Mixed Integer Linear Programming (MILP)) ให้ผลลัพธ์สอดคล้องกับพฤติกรรมตามพหุนามโลจิต ภายใต้ข้อจำกัดเชิงกายภาพของพื้นที่ในการสร้างจุดจอดแล้วจร
จำนวนการดาวน์โหลด
Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์