การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความต้านทานไฟฟ้ากับกำลังรับแรงเฉือนแบบไม่ระบายน้ำของดิน เพื่อวิเคราะห์ถนนเลียบคันคลอง ในบริเวณดินเหนียวอ่อนกรุงเทพ

  • ณัฐ สุทธิ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • ศลิษา ไชยพุทธ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • ทวีพงษ์ สุขสวัสดิ์ สำนักวิเคราะห์ วิจัย และพัฒนา กรมทางหลวงชนบท
คำสำคัญ: ถนนเลียบคันคลอง, ดินเหนียวอ่อน, ความต้านทานไฟฟ้า, กำลังรับแรงเฉือน

บทคัดย่อ

ถนนเลียบคันคลองที่ก่อสร้างอยู่ในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ (Bangkok Soft Clay) คลอบคลุมพื้นที่มากกว่า 14 จังหวัด ในเขต       ภาคกลางและภาคตะวันออก จากวิกฤตการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ส่งผลให้ถนนหลายเส้นทางเกิดการทรุดตัว เนื่องจากระดับน้ำในคลอง ลดระดับอย่างรวดเร็ว รัฐบาลต้องสูญเสียงบประมาณจำนวนมาก ในการซ่อมแซม การวิเคราะห์เสถียรภาพถนนเลียบคันคลองเพื่อหาแนวทางป้องกันก่อนเกิดเหตุ เป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหาข้างต้น โดยปัจจุบันข้อมูลตัวแปรของชั้นดิน (Parameters) ที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ ล้วนเป็นข้อมูลที่ได้จากการเจาะสำรวจดินในสนาม (Field Investigation) ซึ่งเป็นข้อมูลดินเพียงไม่กี่จุด เพื่อเป็นตัวแทน บอกลักษณะชั้นดินในบริเวณที่ต้องการวิเคราะห์เสถียรภาพ การสำรวจ ค่าความต้านทานทางไฟฟ้าของดิน (Resistivity Survey) ซึ่งเป็นเครื่องมือสำรวจสภาพธรณีวิทยา ที่ใช้ในการทดสอบค่าความต้านทานทางไฟฟ้าของดิน ซึ่งทดสอบได้ครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้างแต่ยังไม่สามารถใช้หาค่ากำลังของดินได้ ดังนั้นในงานวิจัยฉบับนี้จึงเป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความต้านไฟฟ้าและกำลังรับแรงเฉือนแบบไม่ระบายน้ำของดิน (Undrained Shear Strength) ที่ได้จากการทดสอบด้วยวิธี Screw Driving Sounding Test (SDS) เมื่อทราบค่ากำลังรับแรงเฉือนของชั้นดิน จะสามารถนำไปแปลงเป็นตัวแปรอื่นได้  เช่น หน่วยแรงยึดเกาะ, มุมเสียดทานภายใน และหน่วยแรงอัดของดิน เป็นต้น

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2020-07-09
How to Cite
[1]
สุทธิณ., ไชยพุทธศ. และ สุขสวัสดิ์ท. 2020. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความต้านทานไฟฟ้ากับกำลังรับแรงเฉือนแบบไม่ระบายน้ำของดิน เพื่อวิเคราะห์ถนนเลียบคันคลอง ในบริเวณดินเหนียวอ่อนกรุงเทพ. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), GTE14.