การประยุกต์ใช้แถบยางพาราอัดแรงในการลดการสั่นของคานคอนกรีตอัดแรง

ผู้แต่ง

  • นครินทร์ ชาญณรงค์ ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมโยธาเเละสิ่งเเวดล้อม คณะวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • กิตติภูมิ รอดสิน ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จ.กรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

แถบยางพาราอัดแรง, การสั่นไหวของคาน, อัตราส่วนความหน่วง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประยุกต์ใช้แถบยางพาราอัดแรงมาใช้ในการลดระยะเวลาการสั่นของคานคอนกรีตอัดแรงโดยการเพิ่มอัตราส่วนความหน่วง ในงานวิจัยนี้จะนำยางรองคานสะพานชนิดที่ทำจากยางธรรมชาติ มาติดตั้งบริเวณด้านล่างและกึ่งกลางคานคอนกรีตอัดแรงรูปตัวไอ ที่มีความยาวช่วงคาน 20 เมตร การทดสอบจะทำโดยใช้ก้อนคอนกรีตขนาด 50x80x40 เซนติเมตร มากระแทกเพื่อหาอัตราส่วนความหน่วง (damping ratio) ของคาน โดยการทดสอบจะมีทั้งหมด 4 กรณี โดยกรณีที่ 1 จะไม่เสริมแถบยางพาราอัดแรง และกรณีที่ 2 3 และ 4 จะเสริมยางพาราจำนวน 1 แผ่น 3 แผ่น และ 5 แผ่นตามลำดับ จากผลการทดสอบพบว่า คานเดิมจะมีอัตราส่วนความหน่วงอยู่ที่ระดับ 1.34% เมื่อเสริมแถบยางพาราจำนวน 1 แผ่น อัตราส่วนความหน่วงของคานมีค่าเท่ากับ 1.68 % และเมื่อเสริมแถบยางพารา 3 แผ่น และ 5 แผ่น อัตราส่วนความหน่วงจะมีค่าเท่ากับ 1.99% และ 3.31% ตามลำดับ จากผลการทดสอบสามารถสรุปได้ว่า แถบยางพาราอัดแรงสามารถช่วยเพิ่มอัตราส่วนความหน่วงให้กับคานคอนกรีตอัดแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอัตราส่วนความหน่วงจะเพิ่มได้มากถึงสองเท่า เมื่อใช้แถบยางพาราจำนวน 5 แผ่นการประยุกต์ใช้แถบยางพาราอัดแรงในการลดการสั่นของคานสะพานคอนกรีตอัดแรงที่มีปัญหาการสั่นสะเทือนจากการจราจรควรมีการศึกษาในอนาคตต่อไป

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-07

วิธีการอ้างอิง

ชาญณรงค์ น., & รอดสิน ก. (2023). การประยุกต์ใช้แถบยางพาราอัดแรงในการลดการสั่นของคานคอนกรีตอัดแรง. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, STR43–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2549