ต้นแบบเครื่องมือวัดมิติตามขวางของอุโมงค์ทางรถไฟด้วยเลเซอร์วัดระยะ

ผู้แต่ง

  • กิติเดช สันติชัยอนันต์ ภาควิชา ครุศาสตร์โยธา ม. พระจอมเกล้าธนบุรี
  • สุริยา พิทักษ์กุล

คำสำคัญ:

อุโมงค์, เขตโครงสร้าง, เขตบรรทุก, เครื่องวัดระยะด้วยเลเซอร์, มิติหน้าตัดขวาง

บทคัดย่อ

ในปัจจุบัน การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มีเขตโครงสร้าง (Structure gauge) ตามทางรถไฟตลอดเส้นทางของประเทศ ขนาดของ เขตบรรทุก (Loading gauge) จำเป็นต้องมีขนาดปลอดภัยที่จะผ่านเขตโครงสร้าง อุโมงค์ก็เช่นกันถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเขตโครงสร้างที่ระยะห่าง ระยะระหว่างผนังของอุโมงค์กับขบวนรถมีโอกาสเกิดการเปลี่ยนแปลงจากการเคลื่อนตัวของผนังอุโมงค์เอง จากการมีหัวรถจักร ขบวนรถโดยสารหรือ รถขนตู้สินค้าคอนเทนเนอร์ที่มีขนาดใหม่ ตลอดจนจากการซ่อมบำรุงทางรถไฟให้มีระดับสูงขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลจนเกิดปัญหาขบวนรถดังกล่าวเบียดชนกับผนังของอุโมงค์ได้ จากรายงานคณะทำงานตรวจสอบโครงสร้างทางของ รฟท. รายงานว่าเกิดการเบียดชนระหว่างรถจำลองเขตบรรทุก (Mock up car) ในอุโมงค์ช่องเขา จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยที่ไม่ทราบจุดที่ชนแน่นอน ดังนั้นเพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อการเดินรถในอุโมงค์จึงจำเป็นต้องดำเนินกาตรวจสอบมิติของอุโมงค์ดังกล่าวโดยละเอียด ว่าจุดใดเป็นจุดที่เกิดการชน เพื่อหาแนวทางการแก้ไขไม่ให้เกิดการเบียดชนอีก ดังนั้นหน่วยงานที่รับผิดชอบของ รฟท. จึงจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาวิธีการตรวจสอบที่เหมาะสม ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้พัฒนาต้นแบบเครื่องมือ อุปกรณ์ประกอบ และขบวนการวัดมิติหน้าตัดตามขวางของอุโมงค์ ต้นแบบเครื่องวัดระยะด้วยเลเซอร์แบบมือถือที่ทำงานร่วมกับการใช้และไม่ใช้แผ่นจานองศาถูกพัฒนาขึ้น เพื่อให้สามารถนำข้อมูลการวัดระยะทางจากศูนย์กลางแนวรางถึงผนังอุโมงค์ตามองศาต่างๆจากแนวราบมาจำลองหน้าตัดตามขวางของผนังอุโมงค์ ผลการพัฒนาและทดลองใช้งาน สรุปได้ว่า ต้นแบบเครื่องมือ อุปกรณ์ประกอบ และขบวนการวัด สามารถระบุตำแหน่งของอุโมงค์ช่องเขาที่มีปัญหาการเบียดชนได้อย่างถูกต้องภายใต้ความแม่นยำที่เพียงพอที่จะตรวจจับความผิดปกติของผนังอุโมงค์ ขนาดของขบวนรถที่ใหญ่เกินไป การยกตัวของโครงสร้างทางและรางเนื่องจากการซ่อมบำรุง ตลอดจนต้นแบบมีความเหมาะสมต่อการใช้งานตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้งานตามแขวงและเขตทางต่างๆของ รฟท. ทั่วประเทศ

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-09

วิธีการอ้างอิง

สันติชัยอนันต์ ก., & พิทักษ์กุล ส. (2023). ต้นแบบเครื่องมือวัดมิติตามขวางของอุโมงค์ทางรถไฟด้วยเลเซอร์วัดระยะ. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, INF04–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2436