การปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้าเวชภัณฑ์: กรณีศึกษา น้ำยาล้างไตทางช่องท้อง
คำสำคัญ:
น้ำยาล้างไตทางช่องท้อง, คลังสินค้า, แผนผังคลังสินค้าบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มุ่งเน้นการปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ในคลังสินค้า โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ตามประเภทของสินค้าที่เข้าก่อนจะถูกหมุนเวียนออกไปก่อนเพื่อลดความเสียหายจากกรณีสินค้าที่เข้ามาก่อนเสื่อมสภาพหรือหมดอายุ (First In First Out: FIFO) และเทคนิคการศึกษาเวลา (Time Study) ซึ่งการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการคลังสินค้าเวชภัณฑ์ และเสนอแนะแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการคลังสินค้าเวชภัณฑ์ กรณีศึกษา น้ำยาล้างไตทางช่องท้อง ผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาปัญหาของการจัดวางสินค้าภายในคลังสินค้าเวชภัณฑ์ โดยใช้แผนผังก้างปลา (Fishbone diagram) วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาทำให้ทราบปัญหาการจัดการพื้นที่คลังสินค้าเวชภัณฑ์ดังกล่าว อาทิ การจัดเรียงสินค้าไม่เป็นระเบียบ สินค้าเก่าและสินค้าใหม่ถูกจัดวางรวมกัน รวมถึงการจัดวางสินค้าในคลังสินค้าไม่แยกตามประเภทของสินค้า ผลการวิจัยพบว่า การใช้หลักการวิเคราะห์แบบ FIFO ช่วยให้ระยะเวลาการค้นหาและเคลื่อนย้ายสินค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น การจัดแผนผังคลังสินค้ารูปแบบใหม่ทำให้สามารถค้นหาสินค้าได้สะดวก และรวดเร็วยิ่งขึ้น ระยะเวลาเฉลี่ยในการการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในคลังสินค้าลดลงเฉลี่ยร้อยละ 6.34 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05