ความแข็งแรงของวัสดุก่อที่ผลิตจากแกนลำต้นของกัญชงและลำต้นพร้อมเปลือกลำต้นของกัญชง

ผู้แต่ง

  • สุดนิรันดร์ เพชรัตน์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • รุ่งอรุณ บุญถ่าน
  • รุ่งโรจน์ ฤกษ์หร่าย
  • ปกรณ์ภัทร บุดชา
  • ภาณุวัตน์ จ้อยกลัด

คำสำคัญ:

กัญชง, วัสดุก่อสร้างประหยัดพลังงาน, วัสดุก่อ, อิฐดินซีเมนต์

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอผลการทดสอบความแข็งแรงของอิฐดินซีเมนต์ที่ใช้กัญชงที่ผ่านสับย่อยให้มีขนาดเล็กเป็นวัสดุในการผลิตผสมกับปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 ดิน และน้ำ เปรียบเทียบความต้านแรงอัดของอิฐดินซีเมนต์ที่ผลิตจากแกนลำต้นของกัญชงกับลำต้นพร้อมเปลือกลำต้นของกัญชง ตัวอย่างอิฐดินซีเมนต์ที่ผลิตจากแกนลำต้นของกัญชง 0.3 กิโลกรัม ผสมกับปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 ปริมาณแตกต่างกัน 5 กรณี คือ 0.25 0.5 0.75 1.00 1.50 และ 2.00 กิโลกรัม มีความต้านแรงอัด 0.48 0.54 0.58 0.64 0.58 และ 0.48 เมกะปาสคาล ตามลำดับ ส่วนอิฐดินซีเมนต์ที่ผลิตจากลำต้นพร้อมเปลือกลำต้นของกัญชงที่มีปริมาณแตกต่างกัน 4 กรณี คือ 0.3 0.4 0.5 และ 0.6 กิโลกรัม มีความต้านแรงอัด 2.88 2.53 1.02 และ 0.58 เมกะปาสคาลตามลำดับ จากผลวิจัยดังกล่าว สรุปได้ว่า อิฐดินซีเมนต์ที่ผลิตจากลำต้นพร้อมเปลือกของกัญชงมีความแข็งแรงมากกว่าอิฐดินซีเมนต์ที่ผลิตจากแกนลำต้นของกัญชง โดยตัวอย่างที่ผลิตจากลำต้นพร้อมเปลือกลำต้นของกัญชงปริมาณ 0.3 และ 0.4 กิโลกรัม มีความต้านแรงอัดอยู่ในเกณฑ์อิฐประเภทไม่รับน้ำหนัก จึงเป็นเงื่อนไขที่เหมาะสมที่จะพัฒนาให้มีความแข็งแรงเพิ่มขึ้นด้วยการปรับสภาพกัญชงก่อนนำมาเป็นส่วนผสมในการผลิตอิฐดินซีเมนต์เพื่อพัฒนาเป็นวัสดุก่อสร้างประหยัดพลังงาน

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-05

วิธีการอ้างอิง

เพชรัตน์ ส., บุญถ่าน ร. ., ฤกษ์หร่าย ร. . . ., บุดชา ป., & จ้อยกลัด ภ. (2023). ความแข็งแรงของวัสดุก่อที่ผลิตจากแกนลำต้นของกัญชงและลำต้นพร้อมเปลือกลำต้นของกัญชง. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, MAT08–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2129