พฤติกรรมแบบสถิตของดินอ่อนขึ้นรูปใหม่ที่สภาวะความเค้นสูงสุดในอดีตที่แตกต่างกัน ภายใต้การทดสอบแรงอัดสามแกน

ผู้แต่ง

  • ภูริวิทย์ ใจแก้ว ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พีรพงศ์ จิตเสงี่ยม ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่
  • ธวัชชัย ตันชัยสวัสดิ์

คำสำคัญ:

วิธีการเร่งการอัดตัวคายน้ำจากสภาวะเหลว, ความเค้นสูงสุดในอดีต, ดินทรายแป้งที่มีความเป็นพลาสติกต่ำ, การทดสอบแรงอัดสามแกน

บทคัดย่อ

ดินอ่อน (Soft soil) มักพบในบริเวณที่ความลึกตื้น ๆ บ่อยครั้งดินถูกรบกวนจากการเก็บตัวอย่าง อีกทั้งพบปัญหาความแปรปรวนของสมบัติดิน เช่น ความชื้น หน่วยน้ำหนัก การรับน้ำหนักในอดีต รวมไปถึงการเจือปนของอินทรีย์วัตถุในดินบริเวณตื้น (แรงดันดินโอบรัดที่ต่ำ) ซึ่งทำให้ผลการทดสอบขาดความน่าเชื่อถือ เพื่อที่จะลดความแปรปรวนของสมบัติเริ่มต้นของดิน ในงานวิจัยนี้ดินอ่อนจำลองเกาลินจะถูกเตรียมตัวอย่างโดยวิธีการเร่งการอัดตัวคายน้ำ จากการให้ความเค้นสูงสุดที่แตกต่างกัน 3 ตัวอย่าง เพื่อสร้างตัวอย่างดินที่อัดตัวแบบปกติ (OCR = 1) และตัวอย่างดินที่อัดตัวมากกว่าปกติ (OCR = 3, 5) จากนั้นตัวอย่างจะถูกทดสอบกำลังรับแรงเฉือนแบบอัดตัวไม่ระบายน้ำ (CU test) ที่ระดับแรงดันดินโอบรัด 40 กิโลปาสคาล ผลจากการเตรียมตัวอย่างดินพบว่าสามารถควบคุมและลดความแปรปรวนของสมบัติดินเบื้องต้นได้ และผลการทดสอบด้านกำลัง พบว่ากำลังดินจะมีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อสัดส่วนของการอัดตัวสูงขึ้น และค่าของแรงดันน้ำในมวลดินจะลดลงหลังจากที่ดินเริ่มขยายตัวออก และค่าจะลดลงมากเมื่อการอัดตัวของดินเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้การประมาณกำลังของดินเกาลินจากแรงเฉือนปรับแก้ (Normalized shear strength) พบว่าสมการที่ได้ใกล้เคียงกับดินทรายแป้งที่มีความเป็นพลาสติกต่ำ

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-08

วิธีการอ้างอิง

ใจแก้ว ภ., จิตเสงี่ยม พ. ., & ตันชัยสวัสดิ์ ธ. . (2023). พฤติกรรมแบบสถิตของดินอ่อนขึ้นรูปใหม่ที่สภาวะความเค้นสูงสุดในอดีตที่แตกต่างกัน ภายใต้การทดสอบแรงอัดสามแกน. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, GTE43–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2233