พฤติกรรมรอยต่อของคานคอนกรีตสมรรถนะสูงเสริมเส้นใย

ผู้แต่ง

  • นฤสรณ์ ศรีสวัสดิ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ชิตพล เรืองกูล ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ณัฐนันท์ โชติพัฒนกิจ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • วิชัยรัตน์ แก้วเจือ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

คอนกรีตสมรรถนะสูง, การทดสอบแรงดัดแบบสี่จุด, เหล็กข้ออ้อย, ระยะทาบเหล็ก, ปูนแบบไม่หดตัว

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาพฤติกรรมการดัดของคานคอนกรีตเสริมเหล็กที่เชื่อมต่อด้วยคอนกรีตสมรรถนะสูงและปูนแบบไม่หดตัว โดยทำการทดสอบแรงดัดแบบ 4 จุด มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสมรรถนะของการเชื่อมต่อในการถ่ายเทแรงในคานและสังเกตการณ์บริเวณวิกฤตของรอยเชื่อมต่อ ตัวอย่างคานที่ใช้ทดสอบมีความยาว 700 มิลลิเมตร หน้าตัดคาน 150 มิลลิเมตร และลึก 150 มิลลิเมตร โดยพิจารณาขนาดของตัวอย่างคานจากแบบคอนกรีต และขนาดของเครื่องทดสอบ ออกแบบคอนกรีตกำลังอัดรูปทรงกระบอกมาตรฐานบ่มด้วยอากาศที่ 28 วัน มีค่าเท่ากับ 320 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ใช้เหล็กข้ออ้อยรับแรงดึงมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 12 มิลลิเมตร ชั้นคุณภาพ SD40 ตัวแปรที่ใช้ในการทดสอบ คือ ระยะทาบของเหล็กเสริมและอัตราส่วนความลึกของคอนกรีตสมรรถนะสูงกับปูนแบบไม่หดตัว ในช่วงกลางคานที่มีการเชื่อมต่อใช้ระยะทาบของเหล็กที่ 3 6 และ 9 เท่าของขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเหล็กเสริม ความลึกของคอนกรีตสมรรถนะสูงจะมี 3 ระดับคือ 50 มิลลิเมตร 75 มิลลิเมตร และ 100 มิลลิเมตร ของความลึกคาน โดยทำการหล่อตัวอย่างทั้งหมด 30 ตัวอย่าง และทดสอบภายใต้ตัวแปรที่กำหนดแบบละ 3 ตัวอย่าง ทำการบันทึกรูปแบบการวิบัติ การแตกร้าว และการตอบสนองต่อแรง แล้วทำการอภิปรายผลการทดสอบภายใต้พารามิเตอร์การทดสอบที่แตกต่างกัน ผลการศึกษาระยะทาบ และความลึกที่รับแรงได้มากที่สุดคือ 85.05 กิโลนิวตัน ในระยะทาบที่ 9 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางเหล็กเสริม ความลึก 100 มิลลิเมตร แต่ความแข็งแรงยังน้อยกว่าคานที่ไม่มีการเชื่อมต่อคือ 148.11 กิโลนิวตัน อยู่ถึง 43 เปอร์เซ็นต์

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ประวัติผู้แต่ง

วิชัยรัตน์ แก้วเจือ, ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ผศ.ดร.วิชัยรัตน์ แก้วเจือ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-07

วิธีการอ้างอิง

ศรีสวัสดิ์ น., เรืองกูล ช., โชติพัฒนกิจ ณ., & แก้วเจือ ว. (2023). พฤติกรรมรอยต่อของคานคอนกรีตสมรรถนะสูงเสริมเส้นใย. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, STR53–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2154

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##