การติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำ : กรณีศึกษาคลองสามกองและคลองสำโรง จังหวัดสงขลา

กรณีศึกษาคลองสามกองและคลองสำโรง จังหวัดสงขลา

  • สุรางคนา ตรังคานนท์ สาขาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • วิชัยรัตน์ แก้วเจือ
  • นูรนาเดีย เส็นเหร็ม
  • พรชิตา ชูอินทร์
  • ธนิยา เกาศล
  • ณัฐชา โรยสุวรรณ
คำสำคัญ: คลองสามกอง, คลองสำโรง, แหล่งกำเนิดมลพิษทางน้ำ, มาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน

บทคัดย่อ

คลองสามกองและคลองสำโรงเป็นคลองสำคัญของสงขลา โดยเฉพาะคลองสำโรงที่เชื่อมต่อระหว่างอ่าวไทยและทะเลสาบสงขลา น้ำทิ้งจากการทำประมง การเกษตร และบ้านเรือนจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดมลพิษกับคลองทั้ง 2 ส่งผลให้มีการตรวจสอบคุณภาพน้ำ โดยมีจุดเก็บตัวอย่าง 2 สถานีต่อคลอง เป็นเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือนกันยายน 2565 - กุมภาพันธ์ 2566 ทำการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำ ได้แก่ ความเป็นกรดด่าง ออกซิเจนละลาย อุณหภูมิ ของแข็งทั้งหมด ของแข็งละลายทั้งหมด ไนเตรด-ไนโตรเจน บีโอดี แมงกานีส โคลิฟอร์มทั้งหมดฟีคอลโคลิฟอร์ม และโลหะหนัก นำผลการตรวจวิเคราะห์ได้เปรียบเทียบกับมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดินประเภทที่ 3 ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2537 ผลการตรวจติดตามคุณภาพน้ำคลองทั้งสองแหล่งพบว่า คลองทั้งสองแห่งมีค่า ออกซิเจนละลาย บีโอดี โคลิฟอร์มทั้งหมด และฟีคอลโคลิฟอร์มไม่ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดินประเภทที่ 3 ที่ทางสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 กำหนด สำหรับผลการตรวจวิเคราะห์โลหะหนัก พบว่า ปริมาณโลหะหนักในน้ำตัวอย่างจากคลองทั้งสองแห่งมีค่าไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทั้งสองประเภท ผลการวิเคราะห์ WQI พบว่า ค่า WQI ของคลองสามกองและคลองสำโรงเท่ากับ 40.5 และ 11.75 คะแนน ตามลำดับ พบว่าคลองสามกองคุณภาพน้ำเสื่อมโทรมเทียบได้กับแหล่งน้ำผิวดินประเภทที่ 4 และคลองสำโรงคุณภาพน้ำเสื่อมโทรมเทียบได้กับแหล่งน้ำผิวดินประเภทที่ 5 ซึ่งคุณภาพน้ำของคลองทั้งสองมีความเสื่อมโทรมมากกว่าแหล่งน้ำผิวดินประเภทที่ 3 ที่ทางสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 กำหนด

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2023-07-09

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้