ความแม่นยำของการพยากรณ์เวลามาถึงโดยแอพพลิเคชั่น

ผู้แต่ง

  • รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย ปฐมศิริ ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ขนากานต์ อภิวงศ์เจริญ
  • ทณสรวง วรรณสีปี
  • นิธิศ นวลกลาง
  • พัชรพร ใจมัง
  • พัฒนชัย จิรรัตน์สกุล

คำสำคัญ:

แอพพลิเคชั่น, ระยะเวลามาถึง, การพยากรณ์, ความแม่นยำ, ความเต็มใจจ่าย

บทคัดย่อ

การเดินทางสมัยใหม่ มีแอพพลิเคชั่นจำนวนมากช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้เดินทางได้เป็นอย่างดี การศึกษานี้ให้ความสนใจแอพพลิเคชั่นซึ่งพยากรณ์เวลามาถึงของรถโดยสารประจำทาง ได้แก่ Google Maps และ Moovit ซึ่งไม่เสียค่าบริการ และ ViaBus (Fan) ซึ่งต้องชำระค่าบริการพิเศษ 99 บาทต่อเดือน เพื่อต้องการทราบความแม่นยำในการพยาการณ์ของแต่ละแอพพลิเคชั่น จะได้พิจารณาเลือกใช้งานแอพพลิเคชั่นได้อย่างเหมาะสม ในการศึกษานี้เลือกกลุ่มตัวอย่างรถโดยสารประจำทางสาย 515 เส้นทางระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล ถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ระยะทางประมาณ 27 กิโลเมตร โดยเก็บข้อมูล 3 วัน คือ วันอาทิตย์ที่ 13 วันพุธที่ 16 และวันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ความแม่นยำของการพยากรณ์เปรียบเทียบระหว่างเวลามาถึงที่ได้มาจากการพยากรณ์โดยแอพพลิเคชั่นทั้งสาม กับเวลามาถึงจริงของรถโดยสารประจำทาง จำนวนรวมทั้งสิ้น 40 เที่ยววิ่ง ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ViaBus (Fan) พยากรณ์เวลามาถึงได้แม่นยำมากที่สุด ความคลาดเคลื่อนเฉลี่ย 1 นาที ความคลาดเคลื่อนมากที่สุด 6 นาที ทั้งนี้เพราว่า ViaBus (Fan) พยากรณ์เวลามาถึงล่วงหน้าเพียงช่วงสั้นๆ เท่านั้น รองลงมา คือ Google Maps และ Moovit คลาดเคลื่อนเฉลี่ยเท่ากับ 6 และ 32 นาที ตามลำดับ แอพพลิเคชั่นทั้งสามมีแนวโน้มจะพยากรณ์รถโดยสารประจำทางจะมาล่าช้ากว่าความเป็นจริง ความเต็มใจจ่ายให้กับ ViaBus (Fan) เพื่อแลกกับความแม่นยำของเวลามาถึงที่เหนือกว่าการใช้แอพพลิเคชั่น Google Maps มีค่าเท่ากับ 0.50 บาทต่อนาที

Downloads

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-09

วิธีการอ้างอิง

ปฐมศิริ ร. ด., อภิวงศ์เจริญ ข., วรรณสีปี ท., นวลกลาง น., ใจมัง พ., & จิรรัตน์สกุล พ. . (2023). ความแม่นยำของการพยากรณ์เวลามาถึงโดยแอพพลิเคชั่น. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, TRL64–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2453