กำลังอัดของมอร์ตาร์ที่มีการแทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์บางส่วน ด้วยโคลนเผาบดและผงฝุ่นหินปูน

  • ชูชัย สุจิวรกุล ภาควิชาครุศาสตร์โยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ธัญวรัตม์ สันติสุทธิกุล
  • ธีระวุฒิ มูฮำหมัด
คำสำคัญ: Limestone Calcined Clay (LC2), โคลนเผาบด, ผงฝุ่นหินปูน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาคุณสมบัติด้านกำลังอัดของมอร์ตาร์ที่มีการแทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์บางส่วนด้วยโคลนเผาบดและผงฝุ่นหินปูน (LC2) ตัวแปรที่ใช้ศึกษาคือ ปริมาณการแทนที่ LC2 ที่แตกต่างกัน 3 ระดับ คือ ร้อยละ 15 30 และ 50 โดยน้ำหนักของปูนซีเมนต์ และทำการหาปริมาณน้ำที่เหมาะสมในส่วนผสมของมอร์ตาร์ โดยทำการควบคุมค่าการไหลตัวให้อยู่ในระหว่างร้อยละ 105–115 ตามมาตรฐาน ASTM C1437 ตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบกำลังอัดเป็นลูกบาศก์ขนาด 5 x 5 x 5 เซนติเมตร เป็นไปตามมาตรฐาน ASTM C109 โดยทำการทดสอบที่อายุของมอร์ตาร์เท่ากับ 7 14 และ 28 วัน จากผลการศึกษาพบว่า เมื่อมีการแทนที่ LC2 ที่เพิ่มมากขึ้น จะทำให้ส่วนผสมต้องการน้ำมากขึ้น เพื่อให้การไหลตัวของมอร์ตาร์มีค่าเท่าเดิม และกำลังอัดของมอร์ตาร์ที่มีการแทนที่ปูนซีเมนต์บางส่วนด้วยโคลนเผาบดและผงฝุ่นหินปูน (LC2) มีการพัฒนามากขึ้นตามอายุการบ่ม นอกจากนี้ยังพบว่าเมื่อมีการแทนที่ LC2 ในปริมาณมากคือร้อยละ 50 จะทำให้กำลังอัดในช่วง 7 วันแรกจะลดลง และตัวอย่างที่มีกำลังอัดสูงสุด คือตัวอย่างที่มีการแทนที่ LC2 ในปริมาณร้อยละ 30 โดยได้ค่ากำลังอัดที่ 28 วัน เท่ากับ 73.9 เมกะปาสคาล

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2023-07-05

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้