ผลกระทบของการใช้สารเชื่อมประสานที่ผิวสัมผัสและความขรุขระ ที่มีต่อแรงยึดหน่วงแบบเฉือนตรงระหว่างคอนกรีตเดิมกับคอนกรีตใหม่

  • ชูชัย สุจิวรกุล ภาควิชาครุศาสตร์โยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • วาสิฏฐกฤษ จันทร์เกตุ
คำสำคัญ: คอนกรีตเดิม, คอนกรีตใหม่, ความขรุขระ, สารเชื่อมประสาน

บทคัดย่อ

การประสานคอนกรีตใหม่บนคอนกรีตเดิมสำหรับการซ่อมแซมหรือการเสริมกำลังโครงสร้าง จะต้องคำนึงถึงการถ่ายแรงต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างจุดต่อได้แก่ แรงดึง แรงอัด และโมเมนต์ การส่งถ่ายแรงที่สำคัญหนึ่งคือแรงเฉือนระหว่างจุดต่อ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับตัวแปรต่างๆ หลากหลายงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาตัวแปรต่างๆ ที่ส่งผลต่อแรงยึดเหนี่ยวแบบเฉือนตรงระหว่างคอนกรีตเดิมกับคอนกรีตใหม่ ตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบเป็นรูปทรงกระบอกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 150 mm ยาว 300 mm โดยทำการต่อกันในช่วงกลางระหว่างคอนกรีตเดิมกับคอนกรีตใหม่ ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย (1) ลักษณะของผิวสัมผัส 2 ลักษณะ ผิวเรียบ และผิวขรุขระ และ (2) การใช้สารเชื่อมประสานชนิดต่างๆ (อีพ็อกซี เรซิน, ลาเทกซ์, กาวซีเมนต์ และคลิสตัลไลน์) บนผิวสัมผัส จากการศึกษาพบว่า ลักษณะผิวสัมผัสบริเวณจุดต่อที่มีความขรุขระจะให้ความสามารถในการรับแรงยึดหน่วงแบบเฉือนตรงได้ดีกว่าผิวสัมผัสแบบเรียบ และการใช้สารเชื่อมประสานเป็นชั้นกลาง โดยเฉพาะสารเชื่อมประสานประเภทอีพ็อกซี เรซิน สามารถเพิ่มแรงยึดหน่วงแบบเฉือนตรงได้มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2023-07-07

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้