การวิเคราะห์เปรียบเทียบความคุ้มค่าในการตัดสินใจขนส่งด้วยตนเองหรือจัดจ้าง กรณีศึกษาโรงงานผลิตน้ำดื่ม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
การวิเคราะห์เปรียบเทียบความคุ้มค่าระหว่างการขนส่งด้วยตนเองและการจัดจ้างบริษัทภายนอก กรณีศึกษาโรงงานผลิตน้ำดื่ม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นการนำเสนองานวิจัยเกี่ยวกับการวิเคราะห์และเปรียบเทียบความคุ้มค่าในการลงทุนเพื่อดำเนินงานด้านการขนส่งด้วยตนเองหรือจัดจ้าง โดยมีกรณีศึกษา คือ โรงงานผลิตน้ำดื่ม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือประกอบการตัดสินใจเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่ง รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยมีการพยากรณ์ยอดขายน้ำดื่ม ด้วยวิธีการพยากรณ์ 6 วิธี และเลือกวิธีที่มีความแม่นยำมากที่สุด เพื่อให้ได้ข้อมูลยอดขายในอนาคตนำมาประกอบการวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการลงทุนการขนส่งด้วยตนเองหรือการจัดจ้างบริษัทภายนอก หลังจากนั้นจะทำการเปรียบเทียบความคุ้มค่าด้วยวิธีการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน (Break Even Point) เพื่อเลือกราคาและความคุ้มค่าของรถที่จะใช้ในการขนส่งมาทำการเปรียบเทียบกับการจัดจ้างบริษัทภายนอก ผลจากการพยากรณ์ยอดขายล่วงหน้า 4 ปี พบว่ามียอดขายเฉลี่ยอยู่ที่ระหว่าง 107,903 – 114,748 แพ็ค โดยใช้วิธีค่าเฉลี่ยน้ำหนักเคลื่อนที่อย่างง่าย (Simple Moving Average) มีความแม่นยำในการพยากรณ์ดีที่สุด หลังจากนั้นนำข้อมูลต้นทุนในการจัดซื้อรถเพื่อขนส่งด้วยตนเองมาเปรียบเทียบกับการจัดจ้างบริษัทภายนอกเพื่อขนส่ง ผลการศึกษา พบว่า จากยอดขายข้างต้นนั้น การจัดซื้อรถเพื่อดำเนินการขนส่งด้วยตนเองใช้ต้นทุนน้อยกว่าการจัดจ้างบริษัทภายนอกถึง 2.35 แสนบาทต่อปี
จำนวนการดาวน์โหลด
Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.