การประเมินการรับรู้ของผู้ขับขี่ต่อกฎหมายกำหนดความเร็ว 120 กม/ชม

  • เพ็ญนภา พรสุพิกุล ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน มูลนิธินโยบายถนนปลอดภัย
  • ดารารัตน์ ช้างด้วง
  • ทวีศักดิ์ แตะกระโทก
คำสำคัญ: ความเร็วจำกัดที่ปลอดภัย, การประเมินการรับรู้, ผู้ใช้รถใช้ถนนที่เปราะบาง

บทคัดย่อ

อุบัติเหตุทางถนน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 –2564 จากรายงานของกระทรวงคมนาคมพบว่าเกิดจากความประมาทของผู้ขับขี่โดยมีสาเหตุเกิดจากการขับรถ เร็วเกินอัตรากำหนดมากถึง 78% ในขณะที่กระทรวงคมนาคมได้ประกาศกฎกระทรวงกำหนดอัตราความเร็วของยานพาหนะบนทางหลวงแผ่นดินหรือ ทางหลวงชนบทที่กำหนด พ.ศ. 2564 เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2564 ที่กำหนดให้ “รถยนต์ส่วนบุคคล” ใช้ความเร็วไม่เกิน 120 กม./ชม. และถ้าอยู่ในช่องขวาสุด ให้ใช้ความเร็วไม่ต่ำกว่า 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง งานวิจัยนี้คณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษาการประเมินการรับรู้ของผู้ขับขี่ต่อกฎหมายกำหนดความเร็ว 120 กม./ชม. ระหว่างทางหลวงหมายเลข 32 กับทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ซึ่งเป็นสายทางที่กำหนดให้ยานพาหนะใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 120 กม./ชม. ผลการประเมิน การรับรู้ของผู้ขับขี่ต่อกฎหมายกำหนดความเร็ว 120 กม./ชม. ของผู้ขับขี่บนถนน 2 เส้นทาง คือ ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และ ทางหลวงหมายเลข 32 พบว่า การรับรู้ต่อความเร็วที่ปลอดภัยสำหรับยานพาหนะบนถนนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และ ถนนทางหลวงหมายเลข 32 ที่ต่ำกว่าความเร็วตาม กฎหมายกำหนดที่ 120 กม./ชม. และพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการกำหนดความเร็วจำกัดที่ปลอดภัยบนถนนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และ ทางหลวง หมายเลข 32 ได้แก่ ปริมาณผู้ใช้รถใช้ถนนที่เปราะบาง (จักรยาน จักรยานยนต์ คนเดินเท้า), ทางแยก และ จุดกลับรถ อย่างไรก็ตาม ถนนทั้ง 2 เส้นทาง มีสภาพถนนที่เป็นปัจจัยส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุโดยเฉพาะกิจกรรม 2 ข้างทางแตกต่างกัน ดังนั้น เมื่อมีการเพิ่มความเร็วมากขึ้น จึงควรมีการจัดการความ ปลอดภัยสำหรับการทางเชื่อมและจำกัดความเร็วพื้นที่ในเขตชุมชนเพื่อลดโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุทางถนน นอกจากนี้ ภาครัฐควรมีการประเมินการรับรู้ ความปลอดภัยร่วมกับสภาพ/ลักษณะของถนนที่ปลอดภัยเพื่อกำหนดความเร็วที่ปลอดภัยสำหรับพื้นที่โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการใช้กิจกรรมข้างทางหนาแน่น และชุมชน

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2023-07-08

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้