การศึกษากลไกการป้องกันตนเองของผู้เรียนที่เกิดจากการเรียนรู้ในห้องเรียน

  • นายเอกรัตน์ รวยรวย ภาควิชาครุศาสตร์โยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • เพียงเพ็ญ จิรชัย
  • ชุติกาญจน์ นารินรักษ์
  • ปิยะรัตน์ มั่นคง
คำสำคัญ: กลไกการป้องกันตนเอง, บุคลิกลักษณะของผู้เรียน, การจัดการเรียนการสอน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลไกการป้องกันตนเองของผู้เรียนในห้องเรียนโดยจำแนกบุคลิกลักษณะ ที่ประกอบด้วย Dominance (กระทิง) Influence (อินทรี) Steadiness (หนู) และ Conscientiousness (หมี) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี จำนวน 235 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับกลไกการป้องกันตนเองแบบ 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า T-test ค่า ANOVA test ผลการวิจัยพบว่า ผู้เรียนมีการใช้กลไกการป้องกันตนเองมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ การกดระงับ การชดเชย การเห็นประโยชน์ผู้อื่น การเลียนแบบ และการแสดงออกด้วยการกระทำ นักศึกษาที่มีเพศต่างกันมีการใช้กลไกลการป้องกันตนเองด้านการปลดเปลื้องที่แตกต่างกัน ส่วนนักศึกษาที่เรียนในหลักสูตรต่างกันมีการใช้กลไกการป้องกันตนเอง ด้านการบิดเบือนความจริง การใช้เชาวน์ปัญญา และการปฏิเสธ ที่แตกต่างกัน และนักศึกษาที่มีบุคลิกลักษณะต่างกันจำแนกตามหลักการของ DISC มีการใช้กลไกการป้องกันตนเองด้านอารมณ์ขัน ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาสามารถสะท้อนกลไกการป้องกันตนเองของผู้เรียนที่เกิดจากการเรียนรู้ในห้องเรียนได้เป็นอย่างดี สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2023-07-08