พฤติกรรมของทางรถไฟที่เสริมด้วยวัสดุสังเคราะห์เชิงประกอบภายใต้การใช้งานจริง

ผู้แต่ง

  • พัดยศ โคตรมา ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สยาม ยิ้มศิริ
  • สิทธิภัสร์ เอื้ออภิวัชร์

คำสำคัญ:

ทางรถไฟ, วัสดุสังเคราะห์, การเสริมกำลัง, การใช้งานจริง, ดัชนีการปนเปื้อน, ดัชนีความไม่สม่ำเสมอของทาง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมภายใต้การใช้งานจริงของทางรถไฟที่มีการติดตั้งวัสดุสังเคราะห์เชิงประกอบ (Geogrid และ Geotextile) โดยทำการศึกษาทางรถไฟสายตะวันออก กม.67+500 ถึง 68+000 ระหว่างสถานีดอนสีนนท์ และ สถานีแปดริ้ว จ.ฉะเชิงเทรา การศึกษาได้ทำการทดสอบต่างๆต่อทางรถไฟระหว่างการใช้งานจริง โดยประกอบด้วยการทดสอบในสนามคือ (i) การวัดการเคลื่อนตัวของสันราง และ (ii) การตรวจวัดคุณภาพทางด้วย TGM นอกจากนี้ยังทำการเก็บตัวอย่างหินโรยทางและนำมาทดสอบในห้องปฏิบัติการเพื่อวิเคราะห์การปนเปื้อนของหินโรยทาง ผลการศึกษาพบว่าการเสริมกำลังมีผลช่วยลดค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของการเปลี่ยนแปลงของค่าระดับสันรางลงได้เมื่อเทียบกับทางรถไฟที่ไม่มีการเสริมกำลัง นอกจากนี้การเสริมกำลังยังช่วยลดดัชนีความไม่สม่ำเสมอของทาง (P-index) ลงได้ แต่พบว่าการเสริมกำลังนี้ไม่ได้มีผลต่อการลดการแตกหักของหินโรยทางลง

Downloads

Download data is not yet available.

ประวัติผู้แต่ง

พัดยศ โคตรมา, ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

พัดยศ โคตรมา

ภาควิชาวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

 

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-06

วิธีการอ้างอิง

โคตรมา พ., ยิ้มศิริ ส., & เอื้ออภิวัชร์ ส. . (2023). พฤติกรรมของทางรถไฟที่เสริมด้วยวัสดุสังเคราะห์เชิงประกอบภายใต้การใช้งานจริง. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, GTE08–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2160

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##