การตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม : กรณีศึกษาการปรับปรุงท่าเทียบเรือน้ำลึกสงขลา

กรณีศึกษาการปรับปรุงท่าเทียบเรือน้ำลึกสงขลา

ผู้แต่ง

  • สุรางคนา ตรังคานนท์ สาขาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • อมรรัตน์ หวลกะสิน
  • เพ็ญนภา ทองประไพ
  • ธนิยา เกาศล
  • หทัยรัตน์ หิตาชาติ

คำสำคัญ:

การตรวจวิเคราะห์คุณภาพสิ่งแวดล้อม, การปรับปรุงท่าเรือ, มาตรฐานการตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเล, อากาศ, เสียง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจวิเคราะห์คุณภาพสิ่งแวดล้อมในช่วงการปรับปรุงท่าเทียบเรือน้ำลึกสงขลาซึ่งท่าเรือน้ำลึกสงขลาเปิดใช้งานตั้งแต่ปี 2531 โดยท่าเทียบเรือน้ำลึกสงขลาได้ทำการตอกเสาเข็มทดแทนเสาเข็มเดิมที่เกิดการชำรุด โดยกำหนดช่วงเวลาดำเนินการประมาณ 4 เดือน โดยระหว่างการดำเนินการปรับปรุงท่าเรือ ได้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้แก่ 1) คุณภาพน้ำทะเลบริเวณหน้าท่าเทียบเรือ ได้แก่ ความโปร่งใส ออกซิเจนละลาย ความเป็นกรด-ด่าง ความนำไฟฟ้า และความเค็ม 2) ระดับเสียงบริเวณปรับปรุงท่าเทียบเรือและระดับเสียงบริเวณพื้นที่ทางเข้าท่าเรือ ได้แก่ ระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ระดับเสียงสูงสุด และระดับเสียงต่ำสุด และ 3) ฝุ่นละอองบริเวณปรับปรุงท่าเทียบเรือและระดับเสียงบริเวณพื้นที่ทางเข้าท่าเรือ ได้แก่ ฝุ่นละอองรวมไม่เกิน 100 ไมครอน (TSP) และฝุ่นละอองไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) ทำการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมจำนวน 5 ครั้ง ซึ่งผลการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมเปรียบเทียบกับประกาศของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ โดยจากผลการศึกษาพบว่า 1) ผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำทะเล จำนวน 5 ครั้ง มีค่าความโปร่งใส ออกซิเจนละลาย ของแข็งแขวนลอยทั้งหมด ความเป็นกรด-ด่าง และความเค็ม มีค่าอยู่เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลประเภทการใช้ประโยชน์ประเภทที่ 5 เพื่ออุตสาหกรรมและการท่าเรือ 2) ผลการตรวจวัดคุณภาพเสียง จำนวน 4 ครั้ง พบว่า บริเวณสถานีตรวจวัดใกล้พื้นที่ปรับปรุงท่าเรือน้ำลึกมีค่าระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง เกินเกณฑ์มาตรฐานระดับเสียงโดยทั่วไปที่กำหนดไว้ แต่บริเวณพื้นที่ทางเข้าท่าเรือน้ำลึกสงขลามีค่าระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมงและระดับเสียงสูงสุดมีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ และ 3) ผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศ จำนวน 4 ครั้ง พบว่า ค่าเฉลี่ยราย 24 ชั่วโมงของขนาดฝุ่นละอองรวม ขนาดไม่เกิน 100 ไมครอน และฝุ่นละอองไม่เกิน 10 ไมครอน มีค่าไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด ดังนั้นการปรับปรุงท่าเทียบเรือควรมีการกำหนดมาตรการในการลดผลกระทบของเสียง เพื่อให้คนงานที่ทำงานในบริเวณดังกล่าวไม่ได้รับผลกระทบจากเสียงที่เกินมาตรฐานที่กำหนด

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-09

วิธีการอ้างอิง

ตรังคานนท์ ส., หวลกะสิน อ., ทองประไพ เ. ., เกาศล ธ. ., & หิตาชาติ ห. . (2023). การตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม : กรณีศึกษาการปรับปรุงท่าเทียบเรือน้ำลึกสงขลา: กรณีศึกษาการปรับปรุงท่าเทียบเรือน้ำลึกสงขลา . การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, ENV02–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2040

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##