การศึกษาพฤติกรรมและความสามารถในการรับแรงเฉือนทะลุ ของระบบจุดต่อระหว่างแผ่นพื้นคอนกรีตและเสาเหล็กโครงสร้างรูปพรรณกลวง

  • เมธี สุวรรณสนธิ์ บมจ.สหวิริยาสตีลอินดัสตรี
  • ณัฐพล สุทธิธรรม
  • วิศาล ตรงศรีพาณิชย์
  • เอกชัย อยู่ประเสริฐชัย
คำสำคัญ: แรงเฉือนทะลุ, เสาเหล็กรูปพรรณกลวง, ระบบจุดต่อ, พื้นไร้คานคอนกรีตเสริมเหล็ก, โพสต์คอนเน็คส์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการนำตัวอย่างทดสอบผลิตภัณฑ์ “ระบบจุดต่อฝังในพื้นคอนกรีตใช้งานร่วมกับเสาโครงสร้างเหล็กรูปพรรณกลวง (โพสต์คอนเน็คส์)” คิดค้นโดยนักวิจัยจาก บมจ.สหวิริยาสตีลอินดัสตรี มากดทดสอบร่วมกับแผ่นพื้นไร้คานคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขที่แตกต่างกัน ดังนี้ 1) หมุดเหล็กเสริมรับแรงเฉือน (Shear headed stud) 2) ความหนาของแผ่นเหล็กเสริมกำลังทั้งทางดิ่งและทางขวาง (Vertical and horizontal stiffeners) 3) เส้นผ่านศูนย์กลางของสลักเกลียว 4) กำลังดึงครากของเหล็กแผ่นหัวเสา โดยทดสอบเงื่อนไขละ 2 ตัวอย่าง เพื่อตรวจสอบกำลังรับแรงเฉือนทะลุ (Punching shear) และศึกษาพฤติกรรมของผลิตภัณฑ์เมื่อรับน้ำหนักตรงศูนย์ในแนวดิ่ง โดยนำผลการทดสอบที่ได้มาประเมินเปรียบเทียบกับกำลังรับแรงเฉือนทะลุที่ได้จากการคำนวณตามมาตรฐาน ACI318-19 และทฤษฎี Critical Shear Crack Theory (CSCT) ผลการเปรียบเทียบพบว่า กำลังรับแรงเฉือนทะลุจากผลทดสอบที่มีและไม่มีหมุดเหล็กเสริมรับแรงเฉือนมีค่ามากกว่าที่คำนวณได้จากสมการประมาณ 42% และ 28% ตามลำดับ รวมถึงค่าจากผลทดสอบยังสอดคล้องไปกับทฤษฎี CSCT ดังนั้นจากผลการทดสอบสามารถสรุปได้ว่า “โพสต์คอนเน็คส์” มีความปลอดภัยจากการวิบัติแบบเฉือนทะลุ สามารถทำนายกำลังรับแรงเฉือนทะลุได้จากทฤษฎี CSCT และอนุมานได้ว่าสามารถนำมาใช้งานเป็นเสาโครงสร้างสำหรับงานอาคารเพื่อรับแรงในแนวดิ่งได้จริง

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2023-07-07

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้