การจำลองสภาพการไหลบนผิวดินที่ได้รับอิทธิพลการไหลเสริมจากเครือข่ายลำน้ำ กรณีศึกษา: ลุ่มน้ำลำน้ำชีส่วนที่ 4

  • หริส ประสารฉ่ำ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
  • วินัย เชาวน์วิวัฒน์
  • อนงค์ฤทธิ์ แข็งแรง
  • รัตนา หอมวิเชียร
  • สมพินิจ เหมืองทอง
  • จิรวัฒน์ ศุภโกศล
  • โกวิท บุญรอด
  • กฤษณ์ ศรีวรมาศ
  • เกวรี พลเกิ้น
คำสำคัญ: การไหลเสริม, ปริมาณน้ำท่าผิวดิน, แบบจำลอง SWAT, ลุ่มน้ำชี, ลุ่มน้ำลำน้ำชีส่วนที่ 4

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์คือการใช้แบบจำลองทางอุทกวิทยา SWAT วิเคราะห์สภาพการไหลของน้ำผิวดินในลำน้ำชีที่ไหลผ่านพื้นที่ลุ่มน้ำลำน้ำชีส่วนที่ 4 ซึ่งเป็นลุ่มน้ำย่อยของพื้นที่ลุ่มน้ำชี ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยพิจารณาถึงอิทธิพลของปริมาณน้ำท่าจากเครือข่ายลำน้ำที่ไหลเติมเข้าสู่ลำน้ำชี ได้แก่ ลำน้ำพองซึ่งอยู่บริเวณพื้นที่ต้นน้ำ และลำน้ำลำปาวในด้านท้ายน้ำ ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่า แบบจำลอง SWAT มีประสิทธิภาพที่เหมาะสมในการประเมินปริมาณน้ำท่าเมื่อพิจารณาจากค่าดัชนีทางสถิติ R2 NS และ PBIAS ตามลำดับ ภายหลังการเปรียบเทียบกับข้อมูลจากสถานีตรวจวัดจำนวน 4 สถานี สำหรับการจำลองสภาพปริมาณน้ำท่าที่ไหลเสริมสู่ลำน้ำชีนั้น พบว่า มีการเปลี่ยนแปลงแบบพลวัตรตามช่วงระยะเวลาที่ศึกษาระหว่าง พ.ศ. 2535 – 2564 (30 ปี) โดยปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรายปี ณ จุดออกของลุ่มน้ำย่อยที่รับน้ำจากลำน้ำพอง ลำน้ำชี และลำน้ำปาว มีค่าเฉลี่ยรายปีเท่ากับ 1,630, 288 และ 853 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ตามลำดับ ซึ่งมีค่ารวมใกล้เคียงกับปริมาณน้ำท่าที่ตำแหน่งจุดออกของลุ่มน้ำของพื้นที่ศึกษา ในการวิเคราะห์ปริมาณน้ำท่าจากเครือข่ายลำน้ำแยกเป็นช่วงฤดูฝน พบว่ามีปริมาณน้ำท่าไหลเติมเข้าสู่ลำน้ำหลักประมาณร้อยละ 68 - 70 ในขณะที่ช่วงฤดูแล้งจะลดลงอยู่ระหว่างร้อยละ 29 – 31 ด้วยเหตุนี้ ระเบียบวิธีศึกษาและผลลัพธ์ที่ได้จากการศึกษานี้ จึงคาดว่าสามารถนำไปใช้เพื่อสื่อสาร และทำความเข้าใจกับผู้มีส่วนได้เสีย รวมถึงเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการตัดสินใจในการวางแผนการบริหารจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำโดยหน่วยงานรับผิดชอบในพื้นที่ลุ่มน้ำชีส่วนที่ 4 และพื้นที่ลุ่มน้ำอื่นที่มีลักษณะทางกายภาพคล้ายคลึงกัน

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2023-07-09

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้

1 2 > >>