การใช้ข้อมูลอากาศจาก Climate Forecast System Reanalysis ประเมินปริมาณน้ำท่าและตะกอน ในลุ่มน้ำยมตอนบน

  • จิรวัฒน์ ศุภโกศล สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
  • กฤษณ์ ศรีวรมาศ
  • โกวิท บุญรอด
  • พานทอง ศุภโกศล
คำสำคัญ: Climate Forecast System Reanalysis, ปริมาณตะกอน, ปริมาณน้ำท่า, แบบจำลอง SWAT, ลุ่มน้ำยมตอนบน

บทคัดย่อ

การใช้ข้อมูลสภาพอากาศเพื่อการประเมินปริมาณน้ำท่าและตะกอนด้วยแบบจำลองแบบจำลอง Soil and Water Assessment Tool (SWAT) นั้นต้องการข้อมูลภูมิอากาศหลากหลายตัวแปร ซึ่งข้อมูลตรวจวัดดังกล่าวยังไม่ครอบคลุมและครบถ้วนโดยเฉพาะลุ่มน้ำขนาดเล็ก งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคำนวณปริมาณน้ำท่าและปริมาณตะกอนในลุ่มน้ำยมตอนบน ด้วยแบบจำลอง SWAT โดยใช้ข้อมูลสภาพอากาศจาก Climate Forecast System Reanalysis (CFSR) และใช้ข้อมูลปริมาณน้ำฝนจากสถานีในพื้นที่ลุ่มน้ำ การสอบเทียบและการทวนสอบปริมาณน้ำท่าของแบบจำลองที่สถานีวัดน้ำท่า Y.20 Y.24 Y.31 และ Y.36 ในช่วงปีน้ำ 2534-2563 ได้ค่า PBIAS ทั้ง 4 สถานี มีค่าอยู่ในช่วง -34.43-1.06 และ -18.3-1.01 ค่า R2 มีค่าอยู่ในช่วง 0.65-0.87 และ 0.59-0.86 ค่า NSE มีค่าอยู่ในช่วง 0.25-0.86 และ 0.32-0.85 สำหรับการสอบเทียบและการทวนสอบตามลำดับ ส่วนการสอบเทียบและการทวนสอบปริมาณตะกอนแขวนลอยที่สถานี Y.20 ในช่วงปี 2552-2563 และY.24 ในช่วงปี 2540-2563 ค่า PBIAS มีค่าอยู่ในช่วง -4.23-0.69 และ -1.74-30.00 ค่า R2 มีค่าอยู่ในช่วง 0.59-0.83 และ 0.59-0.64 ค่า NSE มีค่าอยู่ในช่วง 0.57-0.78 และ 0.57-0.82 ของการสอบเทียบและการทวนสอบตามลำดับ ซึ่งเป็นค่าความเชื่อมั่นที่เชื่อถือได้ ดังนั้นจึงแสดงให้เห็นว่าการประยุกต์ใช้ข้อมูลจาก CFSR เป็นอีกแนวทางหนึ่งซึ่งเป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับการประยุกต์ใช้กับลุ่มน้ำขนาดเล็กที่ขาดแคลนข้อมูลภูมิอากาศสำหรับแบบจำลอง SWAT ได้เป็นอย่างดี

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2023-07-09

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้