กำลังอัดแกนเดียวของผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีตรีไซเคิลปรับปรุงด้วยปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก

  • กรองกาญจน์ เทือกกอง สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • เชิดศักดิ์ สุขศิริพัฒนพงศ์
  • วีระวัฒน์ วรรณกุล
  • วรวิทย์ โพธิ์จันทร์
  • ศักดิ์ชัย ศรีจันทร์ดำ
  • ชินะวัฒน์ มุกตพันธ์
คำสำคัญ: ผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีตรีไซเคิล, ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก, ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท 1, กำลังอัดแกนเดียว

บทคัดย่อ

บทความนี้ศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีตรีไซเคิลปรับปรุงด้วยปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกสำหรับวัสดุพื้นทาง ผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีตรีไซเคิล (Recycled asphalt pavement, RAP) ได้จากโครงการก่อสร้างถนนของแขวงทางหลวงชนบทกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ตัวแปรต้นของงานวิจัยนี้ประกอบด้วยชนิดของปูนซีเมนต์ (ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก และปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท 1), ปริมาณปูนซีเมนต์ (ร้อยละ 1, 3 และ 5) และเงื่อนไขการทดสอบกำลังอัดแกนเดียวที่อายุบ่ม 7 วัน (แช่น้ำและไม่แช่น้ำ) ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่า กำลังอัดแกนเดียว (Unconfined compressive strength, UCS) ของ RAP ปรับปรุงด้วยปูนซีเมนต์มีค่าเพิ่มขึ้นตามปริมาณปูนซีเมนต์ที่เพิ่มขึ้นสำหรับทุกชนิดของปูนซีเมนต์ เนื่องจาก Calcium silicates hydrates (CSH) ในตัวอย่างเพิ่มขึ้น USC ของ RAP ปรับปรุงด้วยปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกมีค่าใกล้เคียงกับ USC ของ RAP ปรับปรุงด้วยปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท 1 ในขณะที่ USC แบบแช่น้ำของ RAP ปรับปรุงด้วยปูนซีเมนต์มีค่าน้อยกว่า USC แบบไม่แช่น้ำของ RAP ปรับปรุงด้วยปูนซีเมนต์ สำหรับทุกชนิดของปูนซีเมนต์ และปริมาณปูนซีเมนต์

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2023-07-06

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้

1 2 > >>