การปรับปรุงคุณภาพผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีตรีไซเคิลผสมหินคลุกด้วยเถ้าลอยจีโอโพลิเมอร์แบบผง

ผู้แต่ง

  • กนกพล จันทรา สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือย จ.ขอนแก่น
  • ชยกฤต เพชรช่วย
  • วรวิทย์ โพธิ์จันทร์
  • วีระวัฒน์ วรรณกุล
  • ชินะวัฒน์ มุกตพันธุ์

คำสำคัญ:

ผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีตรีไซเคิล, กำลังอัดแกนเดียว, หินคลุก, จีโอโพลิเมอร์แบบผง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาการปรับปรุงคุณภาพผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีตรีไซเคิลผสมหินคลุกผสมเถ้าลอย และใช้สารเร่งปฏิกิริยาคือ โซเดียมไฮดรอกไซด์แบบเกล็ด (NaOH) ตัวแปรที่ศึกษาได้แก่อัตราส่วน ผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีตรีไซเคิลต่อหินคลุกเท่ากับ 100:0, 75:25, 50:50 และ 25:75 อัตราส่วนเถ้าลอย (FA) เท่ากับร้อยละ 30 ความเข้มข้นของโซเดียมไฮดรอกไซด์เท่ากับ 5 โมลาร์ อายุบ่มตัวอย่างเท่ากับ 7 และ 28 วัน แปรผันความชื้นที่ ร้อยละ 80, 100 และ 120 ตามลำดับจากนั้นทำการทดสอบกำลังอัดแกนเดียว (USC) ของผิวทางที่ปรับปรุงคุณภาพจากผลการทดสอบกำลังอัดแกนเดียว พบว่าค่ากำลังอัดแกนเดียว (USC) มีค่าเพิ่มขึ้นตามปริมาณหินคลุกที่เพิ่มขึ้น ค่ากำลังอัดสูงสุดพบที่ปริมาณความชื้นที่จุดเหมาะสม นอกจากนี้ค่ากำลังอัดจะมีค่าสูงขึ้นตามระยะเวลาอายุบ่มที่เพิ่มขึ้นโดยสูงสุดที่อายุบ่ม 28 วัน จากการศึกษาพบว่ามีความเป็นไปได้ในการนำแอสฟัลต์คอนกรีตเก่ามาใช้เป็นวัสดุทางเลือกในการก่อสร้างหรือปรับปรุงถนนได้ ซึ่งผ่านตามข้อกำหนดของกรมทางหลวงที่ชั้นพื้นทาง หินคลุกผสมปูนซีเมนต์ที่กำหนดให้ค่ากำลังรับแรงอัดแกนเดียวต้องไม่น้อย กว่า 24.50 ksc ที่ระยะเวลาการบ่ม 7 วัน

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-07

วิธีการอ้างอิง

จันทรา ก., เพชรช่วย ช. ., โพธิ์จันทร์ ว., วรรณกุล ว., & มุกตพันธุ์ ช. (2023). การปรับปรุงคุณภาพผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีตรีไซเคิลผสมหินคลุกด้วยเถ้าลอยจีโอโพลิเมอร์แบบผง. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, GTE22–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2240