ปัจจัยความเสี่ยงในการบริหารโครงการก่อสร้าง สำหรับผู้รับเหมาในจังหวัดเชียงใหม่: ผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19
ผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19
คำสำคัญ:
ปัจจัยความเสี่ยง, การบริหารโครงการก่อสร้าง, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยความเสี่ยงในการบริหารโครงการก่อสร้างอาคาร สำหรับผู้รับเหมาในจังหวัดเชียงใหม่ ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และศึกษาระดับความสำคัญของแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหา รวมถึงความคิดเห็นที่มีต่อมาตรการช่วยหลือจากภาครัฐหรือเจ้าของโครงการ โดยทำการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ด้านการบริหารโครงการก่อสร้างอาคารในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย ผู้บริหารบริษัท ผู้จัดการโครงการ วิศวกรโครงการ ผู้ช่วยวิศวกรโครงการ วิศวกรสนาม และที่ปรึกษาโครงการ จำนวนทั้งหมด 35 คน วิเคราะห์ข้อมูลผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่มีต่อปัจจัยความเสี่ยงในการบริหาร
โครงการก่อสร้างอาคาร ด้วยทฤษฎีการประเมินความเสี่ยง และสถิติพื้นฐาน ผลการวิเคราะห์พบว่า ปัจจัยความเสี่ยงย่อยที่ระบุได้ทั้งหมดมีจำนวน 30 ปัจจัยจาก 8 ปัจจัยหลัก มีปัจจัยความเสี่ยงย่อยในระดับสูง จำนวน 8 ปัจจัย สามลำดับแรก คือ (1) การขาดแคลนแรงงาน เนื่องจากสถานการณ์การแพ ร่ระบาดของ COVID-19 (2) การเร่งงานก่อสร้าง และ (3) บุคลากรติด COVID-19 และมีปัจจัยความเสี่ยงหลักในระดับสูง จำนวน 4 ปัจจัย สามลำดับแรก คือ(1) บุคลากรและผู้ปฏิบัติงาน (2) เทคนิคก่อสร้าง และ (3) การออกแบบและสัญญา ส่วนแนวทางการป้องกันและแก้ไขผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 พบว่าผู้ตอบแบบสัมภาษณ์มุ่งเน้นการปฏิบัติและการให้ระดับความสำคัญ ไปที่มาตรการด้านสุขอนามัยในโครงการก่อสร้าง มากกว่าด้านการปรับเทคนิคในการทำงาน ในขณะที่คิดเห็นว่าภาครัฐหรือเจ้าของโครงการควรมีการจัดมาตรการช่วยเหลือทั้งในส่วนของผู้ประกอบการธุรกิจก่อสร้างได้แก่ การขยายอายุสัญญาก่อสร้าง และการงดหรือลดค่าปรับ และในส่วนของผู้ติดเชื้อ COVID-19 ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาล และเงินชดเชยรายได้
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์