ประสิทธิภาพการระบายทรายของประตูระบายทรายในสภาวะที่ไม่มีการเคลื่อนที่ของตะกอนท้องน้ำ

ผู้แต่ง

  • เบญญา สุนทรานนท์ หลักสูตรวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก
  • พงศ์พันธุ์ กาญจนการุณ หลักสูตรวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย
  • สุรชัย อำนวยพรเลิศ หลักสูตรวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย
  • ฑิฐิกรณ์ สาใจ หลักสูตรวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย
  • ธนวัฒน์ จันทร์แก้ว หลักสูตรวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย
  • วิชญาภา บุญประเสริฐ หลักสูตรวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย

คำสำคัญ:

ประตูระบายทราย, ตะกอนทราย, การทับถมของตะกอน, แบบจำลองทางกายภาพ

บทคัดย่อ

ระดับการเปิดบานประตูระบายทรายเป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญสำหรับการระบายทรายที่ทับถมออกภายใต้อัตราการไหลที่เหมาะสม บทความนี้นำเสนอการหาประสิทธิภาพการระบายทรายโดยการเปิดบานประตูที่ระดับแตกต่างกันในสภาวะไม่มีการเคลื่อนที่ของตะกอนท้องน้ำ ประสิทธิภาพการระบายทรายหาได้จากการทดสอบในแบบจำลองทางกายภาพของฝายโอกี้และบานประตูระบายแบบบานตรงหนึ่งบานซึ่งมีความกว้างและสูง 0.18 x 0.18 ตร.ม. ความลึกทับถมของตะกอนทรายในการทดลองถูกกำหนดไว้ที่ความลึก 22%, 33%, 66%, และ 100% ของความสูงบานประตู บานประตูจะถูกเปิดที่ระดับ 20%-100% เพื่อใช้ในการระบาย ตะกอนที่ใช้ทดสอบมีขนาด 0.85-2.00 มม. และ เท่ากับ 1.5 มม. ข้อมูลที่ได้จากการทดสอบประกอบด้วย ระยะการกัดเซาะสูงสุดจากหน้าบานประตู ระยะการกัดเซาะสูงสุดด้านข้างบานประตูและปริมาตรทรายที่ถูกระบายออก ผลการทดสอบแสดงว่าระดับการยกบานประตูที่ 60% ถึง 100% มีระยะของการกัดเซาะสูงสุดด้านข้างและจากหน้าบานประตูเป็น 1 และ 2 เท่า ของความกว้างบานประตูตามลำดับ ตะกอนทราย 3%-34% ของปริมาตรทรายทั้งหมดได้ถูกระบายจากปริมาตรทรายที่ทับถม 22% ถึง 100% ของความสูงประตูระบายทราย ค่าระดับการเปิดประตูที่ดีที่สุดคือ 60% ของความสูงประตูระบายทรายซึ่งให้ปริมาตรการระบายทรายใกล้เคียงกับการเปิดประตูที่ 80% และ 100% ดังนั้นการเปิดบานประตูที่ 60% จะช่วยระบายตะกอนได้มากในขณะที่ยังคงสามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงหน้าแล้งได้มากขึ้นอีกด้วย

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-19

วิธีการอ้างอิง

[1]
สุนทรานนท์ เ., กาญจนการุณ พ., อำนวยพรเลิศ ส., สาใจ ฑ., จันทร์แก้ว ธ., และ บุญประเสริฐ ว., “ประสิทธิภาพการระบายทรายของประตูระบายทรายในสภาวะที่ไม่มีการเคลื่อนที่ของตะกอนท้องน้ำ”, ncce27, ปี 27, น. WRE14–1, ก.ย. 2022.

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##