การทำนายความสัมพันธ์ความเค้นและความเครียดของดินเหนียวผสมซีเมนต์ ด้วยโครงข่ายใยประสาทแบบเกิดซ้ำชนิด LSTM

  • ไปรยา รัตนกิจกุล ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • สมโพธิ อยู่ไว
คำสำคัญ: ความเค้นและความเครียด, โครงข่ายใยประสาทแบบเกิดซ้ำ, ดินเหนียวผสมซีเมนต์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้พัฒนาโครงข่ายใยประสาทแบบเกิดซ้ำชนิด LSTM ทำนายความเค้นและความเครียดของการทดสอบดินเหนียวผสมซีเมนต์ด้วยวิธีแรงอัดสามแกน  ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ อัตราส่วนผสมของซีเมนต์น้ำและดิน ค่าความเค้นประสิทธิผลเฉลี่ย ค่าความเค้นเบี่ยงเบน และค่าความเครียดในแนวดิ่ง การศึกษานี้จะนำเสนอสถาปัตยกรรมที่เหมาะสมของโครงประสาทเทียมแบบ LSTM และเปรียบเทียบกับโครงข่ายประสาทเทียมแบบอื่นๆ จากผลการศึกษาพบว่าโครงข่ายใยประสาทแบบเกิดซ้ำชนิด LSTM เป็นแบบจำลองที่ดีที่สุดเมื่อเทียบกับแบบจำลองแบบ  GRU  และ SimpleRNN  แบบจำลอง  LSTM ที่มีการคิดขั้นของเวลาเท่ากับสอง สามารถทำนายค่าความเค้นและความเครียดของดินซีเมนต์ได้มีความผิดพลาดสัมบูรณ์ที่ 4 เปอร์เซ็นต์

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2022-09-20