การพัฒนาซีเมนต์มอร์ตาร์เสริมเส้นใยสำหรับงานพิมพ์สามมิติ

ผู้แต่ง

  • ศิลา คมขำ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • บูชิต มาโห้
  • ปิติ สุคนธสุขกุล

คำสำคัญ:

การพิมพ์ซีเมนต์ 3 มิติ, เส้นใยไมโครโพลีโพรพิลีน, เวลาเริ่มต้นในการพิมพ์, การทรุดตัวของชั้นพิมพ์, ช่องว่างเวลาการพิมพ์โดยไม่เกิดการทรุดตัว

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาสัดส่วนผสมที่เหมาะสมของมอร์ตาร์ผสมเส้นใยสำหรับการพิมพ์ซีเมนต์ 3 มิติ โดยทำการแปรผันปริมาณเส้นใยไมโครโพลีพรอพิลีนในอัตราส่วน 0 – 0.1% โดยปริมาตร เพื่อนำไปทดสอบคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับการพิมพ์ซีเมนต์ 3 มิติ เช่น การทดสอบความสามารถในการพิมพ์ เวลาเริ่มต้นในการพิมพ์ การทรุดตัวของชั้นพิมพ์ และการทดสอบช่องว่างเวลาการพิมพ์โดยไม่เกิดการทรุดตัว ควบคู่ไปกับการทดสอบคุณสมบัติขั้นพื้นฐาน เช่น การทดสอบการไหลแผ่ การทดสอบความหนืด (viscosity) รวมถึงการทดสอบกำลังรับแรงอัดและกำลังรับแรงดัด ผลการวิจัยพบว่า ส่วนผสมที่มีปริมาณเส้นใยไมโครโพลีพรอพิลีนในอัตราส่วน 0.1% โดยปริมาตร มีคุณสมบัติเหมาะสมกับการพิมพ์ซีเมนต์ 3 มิติ มากที่สุด โดยมีเวลาเริ่มต้นในการพิมพ์เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ มีช่องว่างเวลาการพิมพ์โดยไม่เกิดการทรุดตัวต่ำที่สุด และมีความสูงแต่ละชั้นพิมพ์ที่มากที่สุด รวมถึงมีกำลังอัดและกำลังดัดสูงที่สุด โดยกำลังอัดของตัวอย่างที่ได้จากการพิมพ์มีค่าต่ำกว่าตัวอย่างที่ได้จากการหล่อ แต่ในส่วนกำลังดัดพบว่ามีค่าเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-08-27

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##