การศึกษามอร์ตาร์ซ่อมแซมตัวเองจากกระบวนการชักนำการเกิดตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนต
คำสำคัญ:
ตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนต, การซ่อมแซมรอยร้าว, มอร์ตารบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ศึกษาการนำกระบวนการชักนำการเกิดตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตจากจุลชีพ มาประยุกต์ใช้ในการซ่อมแซมรอยร้าวในมอร์ตาร์ แบคทีเรียที่ใช้ในงานวิจัยเป็นแบคทีเรียสายพันธุ์บริสุทธิ์จำนวน 5 สายพันธุ์จากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ได้แก่สายพันธุ์ Bacillus thuringiensis TISTR 126, Bacillus megaterium TISTR 067, Bacillus sp. TISTR 658, Proteus mirabilis TISTR 100 แ ละ Staphylococcus aureus TISTR 118 โดยเริ่มงานวิจัยจากการคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีปริมาณการเกิดตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตที่สูง ปริมาณเอนไซม์ยูรีเอสสูง และต้องเป็นสายพันธุ์ที่ไม่ก่อโรคในมนุษย์ จากการทดสอบจึงสามารถคัดเลือกสายพันธุ์ของแบคทีเรียข้างต้นได้คือสายพันธุ์ Bacillus thuringiensis TISTR 126 โดยนำสายพันธุ์ที่มีการผลิตตะกอนดังกล่าวข้างต้น มาประยุกต์ซ่อมแซมรอยร้าวด้วยวิธีการฉีดสารละลายบัฟ เฟอร์ สารละลายแขวนลอยแบคทีเรีย และสารละลายแคลเซียมคลอไรด์ลงในรอยร้าวของมอร์ตาร์ตามลำดับทุกวันเป็นเวลา 28 วัน โดยทำรอยร้าวด้วยแผ่นพลาสติกบางซึ่งมีขนาดของรอยร้าวกว้าง0.2 มิลลิเมตร หลังจากตัวอย่างมอร์ตาร์ผ่านกระบวนการซ่อมแซมเรียบร้อยแล้ว ทำการทดสอบค่าการดูดซึมน้ำ กำลังรับแรงอัด และสังเกตปริมาณการซ่อมแซมปิดผิวรอยร้าว แสดงผลออกมาเป็นความสัมพันธ์ของค่าที่ทดสอบกับจำนวนวันที่ใช้ในการซ่อมแซมรอยร้าวด้วยแบคทีเรีย
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์