การศึกษาเปรียบเทียบค่าตัวประกอบปรับผลตอบสนองของโครงสร้าง คอนกรีตเสริมเหล็กที่มีกำแพงรับแรงเฉือนสำหรับอาคารในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ธนภัทร แสนซื่อ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ณัฐวุฒิ ธนศรีสถิตย์ ภาควิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จ.กรุงเทพฯ
  • ภาสกร ชัยวิริยะวงศ์ ภาควิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

กำแพงรับแรงเฉือน, ตัวประกอบปรับผลตอบสนอง, วิธีการวิเคราะห์แบบสถิตไม่เชิงเส้น

บทคัดย่อ

โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีกำแพงรับแรงเฉือน ถือเป็นระบบโครงสร้างที่นิยมสำหรับอาคารสูงใประเทศไทย เพื่อใช้ต้านแรงกระทำด้านข้างโดยเฉพาะแรงแผ่นดินไหว สำหรับมาตรฐานการออกแบบอาคารต้านทานการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว (มยผ.1301/1302-61) ได้อ้างอิงค่าตัวประกอบต่างๆ จากมาตรฐานของต่างประเทศเป็นแม่แบบในการจัดทำมาตรฐานฉบับนี้ โดยเฉพาะค่าตัวประกอบผลตอบสนอง (R) ที่เป็นตัวแปรสำคัญในการหาค่าแรงเฉือนที่ฐานและแรงภายในชิ้นส่วนที่ใช้ออกแบบ งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบค่าตัวประกอบปรับผลตอบสนองของโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีกำแพงรับแรงเฉือนแบบธรรมดาตามที่มีกำหนดในมาตรฐาน (R = 5) เปรียบเทียบกับการหาค่า R ตามวิธีการของ Uang จากผลการศึกษาได้ค่า R เท่ากับ 5.54 และ 4.15 ในทิศทางตามแกน X และแกน Y ของอาคารตามลำดับ โดยค่า R ที่จากการศึกษามีค่าที่ต่ำกว่าที่กำหนดในมาตรฐานสำหรับในทิศทางแกน Y

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-20

วิธีการอ้างอิง

[1]
แสนซื่อ ธ., ธนศรีสถิตย์ ณ., และ ชัยวิริยะวงศ์ ภ., “การศึกษาเปรียบเทียบค่าตัวประกอบปรับผลตอบสนองของโครงสร้าง คอนกรีตเสริมเหล็กที่มีกำแพงรับแรงเฉือนสำหรับอาคารในประเทศไทย ”, ncce27, ปี 27, น. STR30–1, ก.ย. 2022.