การศึกษาเปรียบเทียบแบบจำลองฐานรากตื้นของอาคารเตี้ยภายใต้แรงแผ่นดินไหว

ผู้แต่ง

  • นพรัตน์ เจนมั่นคง ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ณัฐวุฒิ ธนศรีสถิตย์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ดร. พชร เครือวิทย์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

แผ่นดินไหว, ผลปฎิสัมพันธ์ระหว่างดินและโครงสร้าง, ฐานรากตื้น

บทคัดย่อ

สำหรับอาคารที่ตั้งอยู่บนฐานรากตื้นภายใต้แรงกระทำของแผ่นดินไหว โดยทั่วไปโครงสร้างที่ตั้งอยู่บนฐานรากตื้นมักจะถูกออกแบบให้จุดรองรับของฐานรากเป็นแบบยึดแน่นหรือแบบยึดหมุน แต่ในความเป็นจริงแล้ว เมื่อมีแรงแผ่นดินไหวมากระทำจะส่งผลให้ฐานรากเกิดการเคลื่อนที่ในแนวราบและมีการหมุนที่จุดรองรับ ดังนั้นแบบจำลองฐานรากจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงผลปฎิสัมพันธ์ระหว่างดินและโครงสร้างด้วย งานวิจัยนี้จึงทำการศึกษาและเปรียบเทียบผลการทำแบบจำลองฐานรากตื้นระหว่างการออกแบบจุดรองรับเป็นแบบยึดแน่น แบบยึดหมุนและแบบยืดหยุ่นภายใต้แรงแผ่นดินไหว เพื่อทราบแบบจำลองฐานรากตื้นที่เหมาะสมกับอาคารที่ตั้งอยู่บนชั้นดินประเภทต่างๆ และนำมาใช้ออกแบบอาคารให้สามารถต้านทานแรงแผ่นดินไหวได้ โดยในการศึกษานี้ได้ใช้หลักการวิเคราะห์ตามมาตรฐานการออกแบบอาคารต้านทานการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ.2561 เพื่อวิเคราะห์หาการเคลื่อนตัวของอาคารและเปรียบเทียบระหว่างอาคารที่มีจุดรองรับเป็นแบบยึดแน่น, แบบยึดหมุนและแบบยืดหยุ่น

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ประวัติผู้แต่ง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ณัฐวุฒิ ธนศรีสถิตย์, ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ดร. พชร เครือวิทย์, ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-20

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##