การประเมินคุณภาพของอิฐมอญที่ผลิตในพื้นที่จังหวัดกลุ่มสนุก

ผู้แต่ง

  • ก้องรัฐ นกแก้ว สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม จังหวัดนครพนม
  • ศราวุธ ไผ่แก้ว สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม จังหวัดนครพนม
  • คมศักดิ์ หารไชย
  • เมธากุล มีธรรม สังกัดสำนักก่อสร้างทางที่ 2 กรมทางหลวง กรุงเทพมหานคร
  • นาถ สุขศีล สาขาวิชาการบริหารงานก่อสร้างและโครงสร้างพื้นฐาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

คำสำคัญ:

การดูดซึมน้ำ, กำลังอัด, ขนาดอิฐ, ต้นทุน, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนกลุ่มที่ 2, อิฐมอญ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ทำการสำรวจเก็บข้อมูลตัวอย่างอิฐมอญที่ผลิตในเขต 3 จังหวัดกลุ่มสนุก ทดสอบคุณภาพตามมาตรฐาน มอก. 153-2540 และ มผช. 601/2547 เพื่อใช้เป็นข้อมูลด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์อิฐมอญที่ผลิตได้จากกลุ่มตัวอย่างพร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุง/พัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ได้ตามมาตรฐานข้างต้น ซึ่งจะเป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์และช่วยให้ชุมชนและผู้ประกอบการมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น ผลการศึกษาพบว่า ผลการทดสอบคุณสมบัติด้านมิติขนาดของอิฐมอญที่ผลิตได้จากกลุ่มตัวอย่างยังคงเป็นปัญหาหลักที่ต้องการการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้ได้ค่าความคลาดเคลื่อนของมิติด้านขนาดต่าง ๆ ไม่เกินจากที่เกณฑ์ระบุไว้ ส่วนการทดสอบการดูดกลืนน้ำของอิฐนั้นมีค่าที่อยู่ภายใต้เกณฑ์กำหนดไว้ทุกกลุ่มตัวอย่าง ค่าความสามารถ
ในการต้านทานกำลังอัดนั้นมี 2 แหล่งผลิตจาก 4 แหล่งผลิตที่สามารถเข้าเกณฑ์มาตรฐาน มผช. ได้ ทั้งนี้ผลการศึกษาที่ได้สามารถสรุปเป็นแนวทางในการปรับปรุง/พัฒนาผลิตภัณฑ์โดยใช้การปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มเติมวิธีการที่น้อยที่สุดเพื่อให้ได้ตามมาตรฐานโดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มแนวทาง

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-07