การวิเคราะห์ราคาค่าก่อสร้างของอาคารเตี้ยที่ออกแบบให้รับแรงแผ่นดินไหว

  • ภูวดล กลพิมาย ภาควิชาวิศกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาตร์ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี
  • บุญมี ชินนาบุญ
  • สมชาย ชูชีพสกุล
คำสำคัญ: ประมาณราคาค่าก่อสร้าง, แผ่นดินไหว, อาคารเตี้ย, การออกแบบต้านทานแรงแผ่นดินไหว, วิธีสถิตเทียบเท่า, วิธีพลศาสตร์

บทคัดย่อ

ตามประกาศกฎกระทรวง พ.ศ.2564 ได้กำหนดให้พื้นที่ที่รับผลกระทบจากแรงแผ่นดินไหวออกเป็น 3 บริเวณ ตามลำดับความรุนแรงของผลกระทบจากแรงแผ่นดินไหว กฎกระทรวง พ.ศ.2564 (2) บริเวณที่ 3 ได้ระบุถึงอาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 10 เมตร หรือ 3 ชั้นขึ้นไป และ อาคารอยู่อาศัยที่ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรนั้น ซึ่งเป็นอาคารที่มีการก่อสร้างปริมาณสูงในปัจจุบัน ซึ่งการออกแบบอาคารตามข้อกำหนดดังกล่าว โดยออกแบบอาคารให้ต้านทานแผ่นดินไหวด้วยนั้นทำให้ค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้น การศึกษานี้จึงได้ทำการวิเคราะห์ราคาค่าก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นกับอาคารที่ทำการออกแบบโครงสร้างต้านทานแผ่นดินไหว โดยเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2-3 ชั้น ก่อสร้างในพื้นที่ อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ โดยมีอัตราเร่งตอบสนองที่ 0.2 วินาทีที่ 1.080g เพื่อใช้เป็นพื้นที่วิเคราะห์ค่าใช้จ่ายที่จะเพิ่มขึ้นจากการก่อสร้างอาคารที่ออกแบบโครงสร้างอาคารต้านแผ่นดินไหว โดยใช้แบบก่อสร้างที่ทำการออกแบบใหม่ ทำการวิเคราะห์ด้วยวิธีสถิตเทียบเท่าและวิธีพลศาสตร์เชิงเส้น ตามที่มาตรฐานกำหนดของ มยผ.1301/1302-61 โดยใช้พื้นที่ในบริเวณที่ 3 ตามกฎกระทรวง พ.ศ. 2564 ผลการวิเคราะห์พบว่า วิธีสถิตเทียบเท่าและพลศาสตร์เชิงเส้นมีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างงานโครงสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 10-15% เมื่อเทียบกับอาคารที่มิได้ออกแบบและมิได้เสริมเหล็กให้มีความเหนียวตามมาตรฐานของ มยผ.1301/1302-61

 

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2022-09-19
สาขาของบทความ
วิศวกรรมโครงสร้าง

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้