การประยุกต์ใช้เครื่องวัดการแอ่นตัวแบบกระแทกพกพาเพื่อประเมินค่าโมดูลัสจำกัดของดินที่ขึ้นอยู่กับระดับความเค้น

  • ธนรัฐ ขวัญเจริญทรัพย์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • วรัช ก้องกิจกุล ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
คำสำคัญ: เครื่องปล่อยน้ำหนักตกกระแทก, การทดสอบการอัดตัวหนึ่งมิติ, โมดูลัสจำกัด, ระดับความเค้น, วัสดุชั้นทาง

บทคัดย่อ

ค่าโมดูลัสคืนตัว (Resilient modulus, ) เป็นพารามิเตอร์สำคัญค่าหนึ่งที่นำมาใช้ในการออกแบบและวิเคราะห์ความแข็งแรงของวัสดุ
ที่ใชในการก่อสร้างโครงสร้างชั้นทาง โดยทั่วไปการหาคา  ของวัสดุนิยมใชการทดสอบแรงอัดสามแกนแบบใหแรงกระทำแบบวัฏจักร (Repeat load triaxial test, RLT) ซึ่งเป็นวิธีที่มีความซับซอนและใช้เวลานาน เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว การศึกษาในปัจจุบันจึงได้มีการศึกษาวิธีการอื่นเพื่อเป็นแนวทาง
ในการวิเคราะห์ค่า  ในงานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาประยุกต์ใช้วิธีการปล่อยน้ำหนักตกกระทบเพื่อประเมินค่าสติฟเนสของวัสดุเม็ดหยาบ โดยการใช้
เครื่องปล่อยน้ำหนักตกกระแทก (Dynamic hammer, DH) มาใช้ทดสอบกับหินคลุกบดอัดในโมลซีบีอาร์ แล้วทำการวิเคราะห์หาค่าสติฟเนสของดิน  และศึกษาวิธีการวิเคราะห์เพื่อหาค่าโมดูลัสจำกัด  ที่ขึ้นกับระดับความเค้นเทียบกับค่าโมดูลัสจำกัดของวัสดุที่ได้จากการทดสอบการอัดตัวหนึ่งมิติ  ที่ขึ้นกับระดับความเค้น วัสดุที่ใช้ในการศึกษานี้คือ หินคลุก (Crushed rock) ที่มีการคละขนาดอนุภาคกันดี  ผลการศึกษาพบว่า 1. ค่า  จากการทดสอบ DH จะเพิ่มขึ้นกับจำนวนครั้งจนมีค่าคงที่เมื่อจำนวนครั้งในการปล่อยตกมีค่าเพิ่มขึ้นเข้าสู่อินฟินิตี้  ซึ่งค่า  สามารถวิเคราะห์ได้โดยใช้วิธีไฮเพอร์โบลิก (Hyperbolic method) 2. ค่าโมดูลัสจำกัดจากการทดสอบ DH  สามารถหาได้จากค่า  ที่แท้จริงที่หาค่าได้สำหรับระดับความเค้น  ที่แตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับระยะตกกระแทกที่ใช้ในการทดสอบ DH และ 3. ความสัมพันธ์  มีความสอดคล้องกับความสัมพันธ์  แต่จะมีการกระจายตัวที่มากกว่า

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2022-09-20

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้