การทำนายความเครียดการคืบของตาข่ายเสริมแรงพอลีโพรพีลินด้วยพฤติกรรมการคลายความเค้นที่เร่งด้วยอุณหภูมิ

  • รวิวาร เอกอินทุมาศ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จ.กรุงเทพฯ
  • วรัช ก้องกิจกุล
คำสำคัญ: การคลายความเค้น, การคืบ, การเร่งด้วยอุณหภูมิ, ตาข่ายเสริมกำลัง

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันโครงสร้างดินเสริมกำลังด้วยวัสดุเสริมแรงสังเคราะห์มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ซึ่งวัสดุเสริมแรงสังเคราะห์โพลีเมอร์ในการใช้งานส่วนใหญ่จะรับแรงกระทำคงค้าง ดังนั้นพฤติกรรมที่ควรให้ความสำคัญคือพฤติกรรมการคืบ การทดสอบการคืบด้วยวิธีปกติทำเพื่อศึกษาพฤติกรรมการคืบของวัสดุ แต่วิธีนี้ใช้ระยะเวลาในการทดสอบนาน จึงได้มีการพัฒนาวิธีการทดสอบที่ใช้อุณหภูมิเพื่อเร่งการคืบการทดสอบแบบนี้หากใช้ระยะเวลาประมาณ 24 ชั่วโมง จะสามารถทำนายประวัติเวลาความเครียดการคืบระยะยาวได้ นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอวิธีการทำนายประวัติเวลาการคืบของวัสดุเสริมแรงสังเคราะห์โพลีเมอร์จากความเครียดไม่คืนกลับการคลายความเค้นอีกด้วย ผลการวิจัยในอดีตพบว่า ประวัติเวลาการคลายความเค้น 3 ชั่วโมง สามารถทำนายประวัติเวลาการคืบได้ถึง 8 ชั่วโมง ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ทั้งวิธีการเร่งการเกิดพฤติกรรมการคืบด้วยอุณหภูมิและวิธีการทำนายประวัติเวลาการคืบจากประวัติเวลาความเครียดไม่คืนกลับการคลายความเค้นใช้ระยะเวลาการทดสอบที่สั้นแต่สามารถทำนายประวัติเวลาการคืบระยะยาวได้ ในงานวิจัยนี้จึงได้นำทั้งสองวิธีมาประยุกต์รวมกัน โดยทำการทดสอบการคืบแบบเร่งด้วยอุณหภูมิด้วยวิธี Stepped isothermal method (SIM) และทำการทดสอบการคลายความเค้นแบบเร่งด้วยอุณหภูมิด้วยวิธี Time-temperature superposition (TTS) จากผลการทดสอบและวิเคราะห์พบว่า การทดสอบการคลายความเค้นที่เร่งด้วยอุณหภูมิด้วยระยะเวลาการทดสอบรวม 12 ชั่วโมง จะได้ประวัติเวลาความเครียดไม่คืนกลับการคลายความเค้นประมาณ 115 ชั่วโมง ซึ่งทำให้สามารถทำนายประวัติเวลาความเครียดการคืบได้เท่ากับ 348 ชั่วโมง หรือสามารถประหยัดเวลาการทดสอบได้ประมาณ 29 เท่า

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2022-09-20

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้

1 2 > >>